ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่อยู่ในแดนบวกกัน ซึ่งมองว่าก่อนหน้านี้นักลงทุนกังวลสถานการณ์ในยูเครนมากเกินไป ตอนนี้ก็คลายกังวลกันไปแล้ว อย่างไรก็ดี นักลงทุนกำลังเฝ้าจับตาดูตัวเลขเศรษฐกิจของจีนอยู่ว่าอาจจะชะลอลงจากเดิมอีกหรือไม่ ซึ่งก็รอดูตัวเลข PMI ของจีนเป็นสำคัญ
พร้อมให้กรอบการแกว่งไว้ที่ 1,350-1,360 จุด
ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน :
- ตลาดหุ้นนิวยอร์ควานนี้(6 มี.ค.)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,421.89 จุด เพิ่มขึ้น 61.71 จุด (+0.38%) ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 1,877.03 จุด เพิ่มขึ้น 3.22 จุด (+0.17%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 4,352.13 จุด ลดลง 5.84 จุด(-0.13%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้านี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 146.01 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 25.56 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 42.06 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 4.08 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 3.28 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 4.41 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลีย ลดลง 1.60 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 1.20 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดเมื่อวานนี้(6 มี.ค.)ที่ 1,352.21 จุด เพิ่มขึ้น 0.57 จุด(+0.04%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 979.78 ล้านบาท เมื่อวันที่ 6 มี.ค.57
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการวานนี้(6 มี.ค.)ที่ 101.56 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.11 ดอลลาร์
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดวานนี้(6 มี.ค.)ที่ 6.15 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.27/28 แข็งค่าต่อเนื่องหลังรู้ผล ECB-รอตัวเลขศก.สหรัฐฯ
- ผู้เชี่ยวชาญการเงิน-การลงทุนญี่ปุ่น ยกไทยกับอินโดนีเซีย เป้าหมายลงทุนสำคัญของต่างชาติโดยเฉพาะเอสเอ็มอีญี่ปุ่น เหตุไทยได้เปรียบเป็นฮับอาเซียน ส่วนอินโดนีเซียมีประชากรมากสุดหนุน แต่เตือนการเมืองยืดเยื้อนานเป็นความเสี่ยงกระทบความมั่นลงทุนอย่างรุนแรง ขณะที่ฮิตาชิแนะไทยเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเติบโตธุรกิจ
- "แบงก์ชาติ"เผยเงินบาทกลับแข็งค่าหลังนักลงทุนคลายกังวลสถานการณ์ในยูเครน ดึงเงินไหลกลับตลาดหุ้น-บอนด์ ขณะที่แผนปรับกรอบเคลื่อนไหวค่าเงินหยวนจีน เชื่อไม่กระทบเงินบาทมากนัก ด้านนักเศรษฐศาสตร์ฟันธงบาทแข็งช่วงสั้น เชื่อระยะกลาง-ยาว ยังอ่อนค่าจากปัจจัยเฟดลดคิวอีทั้งดอกเบี้ยส่อขยับขึ้นในปีหน้า
- นายฮิซามิชิ โคกะ รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (เจซีซี) เปิดเผยว่า ในระยะสั้นนักลงทุนญี่ปุ่นส่วนใหญ่คงยังไม่ย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทย เนื่องจากไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญในอาเซียนของนักลงทุนญี่ปุ่น
- ก.ล.ต.ออกแนวปฏิบัติแก่บริษัทจดทะเบียน ในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สินเข้ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจนเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน
- บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือฟิทช์เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับพันธบัตรระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศของไทยที่ระดับ BBB+ พร้อมคงแนวโน้มมีเสถียรภาพ โดยให้เหตุผลว่า ไทยยังมีกรอบนโยบายการเงินที่น่าเชื่อถือและมีปัจจัยภายนอกที่แข็งแกร่งสนับสนุน ขณะที่อัตราส่วนทางการคลังสาธารณะยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเช่นกัน ซึ่งความแข็งแกร่งเหล่านี้ช่วยให้ไทยสามารถต้านทานปัจจัยลบจากการชะลอมาตรการคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศได้
*หุ้นเด่นวันนี้
- SIM(เคเคเทรด)"ซื้อ"เป้า 5.30 บาท คาดผลงาน 1Q57 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้ง QoQ และ YoY โดยบริษัทประเมินว่าธุรกิจขายเครื่องโทรศัพท์มือถือแทบไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยการเมือง ทั้งปี 57 ตั้งเป้ารายได้ 1.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% YoY ส่วนใหญ่เป็นการขาย Smart Phone ราคาเครื่องเฉลี่ย 4-6 พันบาท ได้รับการตอบสนองอย่างดีจากตลาดต่างจังหวัด และธุรกิจ MVNO 3G TOT มีโอกาสพลิกกลับมามีกำไรครึ่งปีหลัง หลังสถานีให้บริการ 3G TOT ทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์ใน 1Q57
- M(เคเคเทรด)"ซื้อ"เป้า 61.25 ระดับราคาทรงตัวใกล้ IPO(49 บาท) หรือคิดเป็น PE Ratio อยู่ที่ 22 เท่า ต่ำกว่า PE กลุ่ม Food ที่อยู่ที่ 26 เท่า สะท้อนต่อปัจจัยเสี่ยงผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองแล้ว คาดผลประกอบการจะฟื้นตัวได้เร็วเมื่อปัจจัยลบคลี่คลาย คาดกำไรปี 57 โต 9% YoY นอกจากนี้ยังมีโอกาสโตก้าวกระโดดจากกระแสเงินสดพร้อมลงทุนเกือบหมื่นล้านบาท
- SPALI(ดีบีเอส วิคเคอร์ส)"ซื้อ"เป้า 20.30 บาท ผลงานจะโต Outperform ในปี 57 คาด EPS Growth ไว้ที่ 33% ขณะที่กำไรของอุตฯทรงตัว เนื่องจากหลายบริษัทประกาศเลื่อนเปิดขายโครงการใหม่และการรับรู้รายได้บางโครงการล่าช้า นอกจากนั้น ยังโดดเด่นเรื่องความหลากหลายของสินค้า ทั้งแนวราบและแนวสูงที่ครอบคลุมฐานลูกค้าในระดับกลางล่าง-กลางบน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงในอุตสาหกรรม การควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายมีประสิทธิภาพ ฐานะการเงินดีและจ่ายปันผลสูง ประมาณการ Dividend Yield ปี 2014 จะเท่ากับ 5.5% ในด้าน Valuation ก็จูงใจ โดยซื้อขายที่ P/E ปี 2014 ต่ำเพียง 8 เท่า