ทั้งนี้ ประเมินว่าปีนี้สินเชื่อของ SCB จะเติบโต 6% ขณะที่ทาง SCB มองเป้าเติบโตสินเชื่อไว้ในช่วง 5-7%
ส่วนผลประกอบการไตรมาส 1/57 คาดว่าจะมีกำไรสุทธิในช่วง 11,800-12,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น qoq แต่ลดลง yoy เนื่องจากการขยายตัวสินเชื่อในไตรมาส 1/57 ชะลอลง แต่คาดว่าค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานจะลดลง และการตั้งสำรองหนี้ฯก็ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4/56
พร้อมคาดการณ์กำไรสุทธิปี 57 ไว้ในช่วง 50,500-53,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีกำไรสุทธิ 50,233 ล้านบาท
โบรกเกอร์ คำแนะนำ ราคาเป้าหมาย(บาท/หุ้น) บล.ซีไอเอ็มบี(ประเทศไทย) ซื้อ 200.00 บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ซื้อ 189.00 บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย) ซื้อ 184.00 บล.ยูโอบี เคย์เฮียน ซื้อ 184.00 บล.กรุงศรี ซื้อ 184.00 บล.ทรีนีตี้ ซื้อ 181.00 บล.คันทรี่ กรุ๊ป ซื้อลงทุน 180.00 บล.บัวหลวง ซื้อ 179.00
นายอดิศร มุ่งพาลชล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย) กล่าวว่า หุ้น SCB ยังมีความน่าสนใจในการลงทุน จากที่ราคาหุ้นยังมี upside เมื่อเทียบกับราคาเป้าหมายที่ให้ไว้ที่ 184 บาท/หุ้น
ทั้งนี้ ไตรมาส 1/57 คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 12,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% qoq แต่จะลดลง 4% yoy เนื่องจากการขยายตัวของสินเชื่อในไตรมาส 1/57 คาดว่าจะมีการชะลอตัวลง แต่คาดว่าค่าใช้จ่ายของ SCB จะลดลง ประกอบกับการตั้งสำรองฯก็น่าจะลดลงด้วย เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/56 ที่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายมาก
สำหรับปัจจัยการเมืองที่มีผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ และยังส่งผลกระทบต่อทุกแบงก์ จึงทำให้ปีนี้(2554)ความน่าสนใจของ SCB ด้อยลงไปบ้าง จากที่ผ่านมา SCB มีนโยบายในเชิง Aggressive แต่ปีนี้ได้มีนโยบายในเชิง Conservative โดยจะมีการเติบโตสินเชื่อที่ไม่เด่นกว่าอุตสาหกรรม หรือเติบโตตามอุตสาหกรรมประมาณ 5-6%
ทั้งนี้ สินเชื่อของ SCB เมื่อเทียบกับแบงก์อื่นจะเห็นได้ว่ามีสินเชื่อรายย่อยมากกว่า ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจไม่ดีรายย่อยจะได้รับผลกระทบก่อนกลุ่มอื่น นอกจากนี้ ตัวเลข NPL ขณะนี้ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มฯ เพียงแต่ปีที่ผ่านมา(2556)ตัวเลข NPL เพิ่มขึ้นมาพอควรกว่า 4,000 ล้านบาท ดังนั้นปีนี้ก็ต้องติดตามดู
พร้อมคาดการณ์กำไรสุทธิปี 57 ไว้ที่ 50,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.6% จากปีที่แล้วที่มีกำไรสุทธิ 50,200 ล้านบาท
ด้านนายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า ขณะนี้ได้แนะนำแค่"เก็งกำไร"หุ้น SCB เนื่องจากแนวโน้มสินเชื่อและกำไรในปีนี้มีการเติบโตชะลอลง อันเป็นผลจากปัจจัยการเมืองเป็นหลัก แต่เชื่อว่าแบงก์อื่นก็คงจะได้รับผลกระทบด้วยเช่นเดียวกัน
ในปีนี้คาดว่า SCB จะมีการเติบโตสินเชื่อประมาณ 6% ลดลงจากปีที่แล้วที่สินเชื่อเติบโต 12% แต่ทาง SCB ได้มองเป้าเติบโตสินเชื่อไว้ในช่วง 5-7%
พร้อมคาดการณ์กำไรสุทธิปี 57 ไว้ที่ 53,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.8% จากปีที่แล้วที่มีกำไรสุทธิ 50,233 ล้านบาท
สำหรับผลประกอบการงวดไตรมาส 1/57 คาดว่า SCB จะมีกำไรสุทธิ 12,800 ล้านบาท เติบโต 9% qoq มาจากค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่ลดลง และการตั้งสำรองหนี้ฯก็ลดลงด้วย แต่จะลดลง 2% yoy เป็นผลจากการตั้งสำรองหนี้ที่เพิ่มขึ้น และรายได้จากปันผลลดลง ทั้งนี้สินเชื่อในไตรมาส 1/57 มองว่าทรงตัวถึงลดลงเล็กน้อย เนื่องจาก 2 เดือนแรกของปีไม่มีการเติบโต ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นผลจากปัจจัยการเมืองเป็นหลัก ทำให้ภาพรวมมีการชะลอ การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง รายได้ก็ลดลงไปด้วย
อย่างไรก็ดี ราคาหุ้น SCB ยังมี upside ให้เล่นได้เมื่อเทียบกับราคาเป้าหมาย แต่ปัจจุบันราคาหุ้นก็ถือว่ายังไม่ถูกมากนัก เมื่อเทียบกับ BBL และ KBANK ที่มี valuation ที่ถูกกว่า โดยดูที่ค่า P/E และ P/BV
ส่วน บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย)ระบุในบทวิเคราะห์ฯว่า ด้วยศักยภาพของ SCB เชื่อว่าธนาคารพร้อมที่จะกลับมาเติบโตโดดเด่นอีกครั้งหากเศรษฐกิจฟื้นตัว โดย Valuation ปัจจุบันยังคงน่าสนใจสำหรับการถือลงทุนระยะยาว ด้วยราคาเป้าหมาย 189 บาท
ผลประกอบการ 1Q57F น่าจะทรงตัว โดยคาดกำไร 1Q57F ที่ 1.18 หมื่นล้านบาท ทรงตัว QoQ แต่หดตัวลง 10%YoY โดยคาดสินเชื่อชะลอตัวลงจากการคืนหนี้และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่หดตัว ขณะที่ NIM คาดปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา ด้านรายได้ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น ๆ คาดหดตัวตามการชะลอตัวของสินเชื่อและฐานที่สูงใน 4Q56 ที่มีรายได้ IB จากดีล CPALL-MAKRO และ TRUEIF ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานคาดทรงตัว อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองมีแนวโน้มลดลง QoQ เนื่องจากมีการตั้งสำรองพิเศษจำนวนมากใน 4Q56 แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง 85bps ด้าน NPLs คาดปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
จากมุมมองที่ระมัดระวังต่อเศรษฐกิจ ทำให้ SCB ปรับตัวหมายการเติบโตของสินเชื่อลงมาเหลือเพียง 5-7% จากเดิมที่ 7-10% โดยกลยุทธ์หลักของ SCB ในปีนี้จะไม่เน้นด้านการเติบโต แต่จะหันไปให้ความสำคัญกับการควบคุมค่าใช้จ่ายและคุณภาพสินทรัพย์เป็นหลัก จึงได้ปรับประมาณการกำไรปี 57-58 ลงมาเล็กน้อย 5% และ 4% ตามลำดับ โดยปรับลดการเติบโตของสินเชื่อลงเหลือ 6% ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของธนาคาร โดยคาดกำไรปีนี้ 53,033 ล้านบาท เติบโต 6%YoY