บล.ทรีนีตี้ ซื้อ 20.00 บล.ฟิลลิป ซื้อ 21.00 บล.กรุงศรี ซื้อ 22.50 บล.คันทรี่ กรุ๊ป ซื้อ 22.50 บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ซื้อ 23.00 บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็งฯ ซื้อ 25.00 บล.เอเชีย พลัส ถือ 19.50 บล.เคจีไอ ถือ 20.00
นายอดิศร มุ่งพาลชล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย) กล่าวว่า มองว่าสินเชื่อปีนี้จะยังมีการเติบโตได้ จากที่ทาง KTB ได้เข้าไปเน้นปล่อยสินเชื่อภาคธุรกิจมากขึ้น จากเดิมที่เน้นปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาครัฐค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตามสินเชื่อภาครัฐฯที่หายไปนั้นจะส่งผลให้การเติบโตของ KTB ปีนี้จะไม่เติบโตมากเท่ากับปีที่ผ่านๆมา ส่วนผลประกอบการไตรมาส 1/57 คาดว่า จะต่ำกว่าทั้ง QoQ และ YoY
ขณะที่ NPL ของ KTB อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับธนาคารขนาดใหญ่อื่นๆ ซึ่งยังต้องติดตามว่าจะต้องมีการตั้งตั้งสำรองพิเศษเพิ่มอีกหรือไม่
ด้านนายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า ราคาหุ้น KTB ยังถือว่าไม่แพงมากนัก ประกอบกับ KTB ยังมีเงินปันผลมากที่สุดคือเฉลี่ยแล้วราว 4.8-5%
ทั้งนี้ จากเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัว ส่งผลต่อความต้องการสินเชื่ออาจจะมีการชะลอตัวลงไปบ้าง ประกอบกับทำให้ความสามารถในการชำระหนี้น้อยลง จะส่งผลให้แนวโน้ม NPL ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาครัฐฯที่ปรับตัวลดลงไป หลังภาครัฐฯไม่มีโครงการใหม่ๆออกมา แต่การผล่อยสินเชื่อภาครัฐฯมีสัดส่วนเพียง 15% ของสินเชื่อเท่านนั้น ในขณะที่ภาคเอกชนมีสัดส่วนถึง 85% ของสินเชื่อ ก็ยังมีการใช้จ่ายแต่อาจจะไม่มากเท่าปีที่ผ่านๆมา
“เรามองว่า KTB ยังมีความน่าสนใจ โดยมีประเด็นหลักๆคือเรื่องของปันผลที่ค่อนข้างมาก รวมถึงทางด้านของราคาเองก็ยังถือว่าไม่สูงมากนัก แต่ปีนี้การเติบโตของ KTB เองคงจะเติบโตได้ไม่เท่ากับปีที่ผ่านๆมา เพราะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ความต้องการสินเชื่อก็ลดลง รวมทั้งโครงการใหม่ๆของภาครัฐฯยังไม่ออกมา"นายธนเดช กล่าว
ด้านนักวิเคราะห์จาก บล.คันทรี่ กรุ๊ป คาดกำไรสุทธิไตรมาส 1/57 จะต่ำกว่า QoQ และ YoY เนื่องจากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้นจากค่าใช้จ่ายโบนัสพนักงานเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆและอุปกรณ์ อาคาร สถานที่จะปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน ส่งผลให้ Cost to income เพิ่มขึ้นเป็น 47.5% อีกทั้งคาดว่าธนาคารจะมีการตั้งสำรองหนี้สูงขึ้นเป็น 3 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ด้านการปล่อยสินเชื่อของ KTB ยังคงทำได้ดีกว่ากลุ่มโดยคาดว่าเพิ่มขึ้นราว 2% QoQ เป็น 1.75 ล้านล้านบาท และสำหรับรายได้ค่าธรรมเนียมบริการสุทธิขยายตัวขึ้นเป็น 4 พันล้านบาท ตามธุรกรรม ธุรกิจนายหน้าประกันภัยผ่านธนาคาร และ กองทุนรวม ที่ยังคงเติบโตได้ดี