ทั้งๆที่ ไทยมีความได้เปรียบเรื่องภูมิศาตร์เหนือคู่แข่ง แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว อีกทั้งต้นทุนการดำเนินงาน โดยเฉพาะ Cost of ASK (Avialable Seat per Km.)เป็นต้นทุนที่สำคัญ ที่มาจาการลงทุนซื้อเครื่องบินทีมีประสิทธิภาพ การจัดซื้อจัดจ้างไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้นทุนต่อพนักงานก็สูง ตั้งแต่นักบิน ลูกเรือ เมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยปัจจุบันมีพนักงานประมาณ 23,000คน
ดังนั้น ควรจะต้องแปรรูปการบินไทย ให้เป็นเอกชน โดยกระทรวงการคลังไม่ควรไม่ถือหุ้นเลย เพื่อไม่ให้นักการเมืองเข้ามาหาผลประโยชน์ในการบินไทย และให้นักลงทุนชาวไทย ถือมากว่า 51% อย่างไรก็ดีเห็นว่าเรื่องที่ดำเนินการได้ยาก
"ผมส่งเสริมให้แปรรูป (การบินไทย) ควรแปรรูปให้สุดซอย ...good governance สำคัญที่สุด โดยเฉพาะการสรรหากรรมการ สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นตัวอย่างที่ดี ประธานกรรมการไม่ใช่คนสิงคโปร์ กรรมการกว่าครึ่งไม่ใช่คนสิงคโปร์ แต่เป็นผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขามานั่งเป็นกรรมการ"นายบรรยง กล่าว
ด้านนางสาวเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาระเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวเห็นด้วยกับแนวคิดของนายบรรยงและกล่าวว่า สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ก็มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่บริหารแบบเอกชน คณะกรรมการไม่มีข้าราชการประจำเลย แต่มีมืออาชีพระดับโลกเข้ามาเป็นกรรมการ และแต่ละคนก็มีความเชี่ยวชาญเฉพาะชัดเจน ได้แก่ ด้านการตลาด ด้านการเงิน นักกฎหมาย เป็นต้น และการเป็นรัฐวิสาหกิจไม่ได้ผิดแต่ผิดพลาดที่การบริหารจัดการ
จากที่ผ่านมาการบินไทยกว่าจะเสนองบลงทุนซื้อเครื่องบินต้องผ่านกระทรวงคมนาคมและสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนได้ รวมทั้งเรื่องธรรมาภิบาลในการบินไทยงทำให้คนที่บริหารดีอาจอยู่ไม่ได้ คนทำกำไรอยู่ไม่ได้ แต่คนไม่ทำกำไรอยู่ได้ ส่วนกรรมการ ฝ่ายการเมืองก็แต่งตั้งคนของตัวเอง ซึ่งสุดท้ายรมว.คลังเป็นคนเลือกซึ่งการบริหารแบบนี้ไม่ได้ใช้ดุลยพินิจ การสรรหากรรมการไม่โปร่งใส ดังนั้นเห็นว่าบอร์ดไม่ควรผูกกับการเมือง และการเปลี่ยนคณะกรรมการทำให้การบริหารไม่ต่อเนื่อง
ด้านพล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง ประธานกรรมการ THAI กล่าวว่า บริษัทยังคงต้องรักษาความเป็นสายการบินแห่งชาติ การเป็นภาพลักษณ์ของไทยรวมทั้งการเผยแพร่วัฒนธรรม ผ่านสายการบินก็ยังคงต้องมีอยู่ และมองว่าวันนี้เสียงส่วนใหญ่ทั้งจากผู้ถือหุ้น พนักงงาน สหภาพแรงงานฯไม่ต้องการแปรรูป THAI