บริษัทมองว่าการทำโครงการ Solar Rooftop มีกำไรเติบโตมากกว่าภาพรวมของรายอื่นที่อยู่ในระดับ 20-25% เนื่องจากบริษัทฯมีพื้นที่หลังคาคลังสินค้าที่รองรับค่อนข้างมาก จึงช่วยลดต้นทุนในการมองหาพื้นที่ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ หากทางรัฐบาลได้เปิดให้ยื่นประมูลอีก บริษัทก็มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลในโครงการ โดยปัจจุบันมีโครงการคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าที่พร้อมสามารถติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปได้ไม่ต่ำกว่า 60 เมกะวัตต์
ทั้งนี้ ความร่วมมือกับบมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง(GUNKUL)ในโครงการ Solar Rooftop จัดตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้น 4 บริษัท ประกอบด้วย 1. บริษัทดับบลิวเอชเอ กันกุล กรีนโซล่าร์รูฟ 1 จำกัด กำลังการผลิต 636.48 กิโลวัตต์ 2. บริษัทดับบลิวเอชเอ กันกุล กรีนโซล่าร์รูฟ 3 จำกัด กำลังการผลิต 832.32 กิโลวัตต์ 3. บริษัทดับบลิวเอชเอ กันกุล กรีนโซล่าร์รูฟ 6 จำกัด กำลังการผลิต 832.32 กิลโลวัตต์ และ 4.บริษัท ดับบลิวเอชเอ กันกุล กรีนโซล่าร์รูฟ 17 จำกัด กำลังการผลิต 997.56 กิโลวัตต์
WHA จะมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทร่วมทุนแต่ละรายในสัดส่วน 75% นอกจากการขายไฟฟ้า จำนวน 3.3 เมกะวัตต์ และยังได้รับใบอนุญาตการขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement; PPA) จากการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)อีกจำนวน 979.20 กิโลวัตต์ ภายใต้ บริษัท ดับบลิวเอชเอ กันกุล กรีนโซล่าร์รูฟ 10 จำกัด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงาน แต่อาจจะใช้เวลาในการดำเนินการมากกว่าปกติ เนื่องจากการบริหารจัดการภายในคลังสินค้าของผู้เช่ามีความซับซ้อน และคาดว่าจะจำหน่ายไฟฟ้าให้กับ กฟน.เพิ่มเติมภายในปี 57
นายแพทย์สมยศ กล่าวต่อว่า GUNKUL เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและศักยภาพทางด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพ และสร้างการเติบโตให้กับบริษัทในอนาคตอีกทางหนึ่ง โดยขณะนี้เตรียมเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้า (COD) จำนวน 34.3 เมกะวัตต์ ให้กับกฟน. และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และคาดว่าจะเริ่มสร้างรายได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป และอีกจำนวน 972.20 กิโลวัตต์ ภายในสิ้นปี 27 นี้ รวมทั้งสิ้น 4.2 เมกะวัตต์โดยคาดว่าจะมีรายได้ปีละกว่า 40 ล้านบาท