บลจ.ฟินันซ่า ขายกองทุนตราสารหนี้ 3 เดือนล็อคผลตอบแทน 2.8%ก่อนคาดดบ.ลง

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday May 6, 2014 15:57 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายสุรสีห์ จงไชโย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด กล่าววา บลจ.ฟินันซ่า จึงเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ 3 เดือน ชื่อกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัสโรลโอเวอร์ 3เดือน 2 (FAM FIPR3M2) โดยมีอัตราผลตอบแทนโดยประมาณ 2.80% ต่อปี เปิดเสนอขายระหว่างวันที่ 6-14 พฤษภาคม 57
          กองทุนดังกล่าว เป็นกองทุนที่โรลโอเวอร์มาจากการขายกองทุนก่อนหน้านี้ เป็นกองทุน Specific fund โดยกองทุนจะพิจารณาลงทุนใน ตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงินและ/หรือ เงินฝากของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ เงินฝากธนาคารต่างประเทศสกุลเงิน USD, CNY, HKD, EUR, JPY กับธนาคาร BOC (Macau), Standard Chartered Bank (Hong Kong), ธนาคาร CIMB Niaga (Indonesia)    หรือเงินฝากสกุลเงิน AED ธนาคาร Abu Dhabi Commercial Bank, UAE (F1) , ธนาคาร Union National Bank, UAE(P-1) , ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ, ตั๋วแลกเงิน บมจ.ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) (BBB), ตั๋วแลกเงิน บมจ.เอเซียเสริมกิจ     ลีสซิ่ง(BBB+), ตั๋วแลกเงิน บมจ.ราชธานีลิสซิ่ง (BBB+), บมจ.อีซี่บาย (BBB+), บจ.บีเอสแอล ลีสซิ่ง(BBB) หรือ ตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB ขึ้นไป, ตั๋วเงินคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น

ทั้งนี้ บลจ.ฟินันซ่า ประเมินเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องทั้งการบริโภค การลงทุน การผลิต จากตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมีนาคมที่ยังตกต่ำ โดยตัวเลขการส่งออกลดลงร้อยละ 2.7 (เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว) ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 1.4 (เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว) ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 6.4 (เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว) การท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 9.4 (เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว) ซึ่งตัวปัจจัยสำคัญมาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อกว่าที่ประเมินไว้ ทำให้ภาคเอกชนยังขาดความเชื่อมั่นชะลอการลงทุน ถึงแม้ล่าสุดจากการประชุมที่ผ่านมาคณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.00% แต่ถ้าการบริโภคและการลงทุนยังชะลอตัว และขาดแรงกระตุ้นทางการคลังดอกเบี้ยนโยบายอาจจะปรับลดลงอีก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ