"เน็ตเบย์"ยื่นไฟลิ่งขาย IPO 40 ล้านหุ้น คาดเข้าตลาด mai ภายในสิ้นปีนี้

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday May 12, 2014 10:06 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) (MBKET) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บมจ.เน็ตเบย์ เปิดเผยว่า เน็ตเบย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล(ไฟลิ่ง)ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 40 ล้านหุ้น ให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน โดยเน็ตเบย์จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai)

ทั้งนี้ เน็ตเบย์ เป็นบริษัทแรกที่ยื่นไฟลิ่งของโครงการ “หุ้นนวัตกรรมและสร้างสรรค์ ความภูมิใจของไทย" ซึ่ง ก.ล.ต. เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจกลุ่มนวัตกรรมและสร้างสรรค์เข้าถึงแหล่งเงินทุน

สำหรับ บมจ.เน็ตเบย์ ก่อตั้งเมื่อปี 2547 โดยเน็ตเบย์เกิดจากการร่วมทุนระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นและผู้บริหารของ บริษัท ซอฟท์แวร์ลิ้งค์ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจพัฒนาซอฟท์แวร์เกี่ยวกับธุรกรรมออนไลน์ (e-Business) และบริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) (INET) ซึ่งประกอบธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย โดยบริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจพัฒนาและให้บริการธุรกรรมออนไลน์ (e-Business) ที่ครบวงจรระหว่างภาคธุรกิจและภาครัฐ (B2G) , ระหว่างภาคธุรกิจกับภาคธุรกิจ (B2B) ระหว่างภาครัฐกับภาครัฐ (G2G) และภาครัฐกับประชาชน (G2C) บริการที่สำคัญ ได้แก่ การให้บริการพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร (e-Logistics) และบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ยังถือหุ้นใน บริษัท เคลาด์ ครีเอชั่น จำกัด ในสัดส่วน 100% ของทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้ว บริษัท เคลาด์ ครีเอชั่น ได้มีการพัฒนาและให้บริการ Online Service แก่ผู้ประกอบการ สถาบันการเงิน ธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย และอื่นๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบ เพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (CDD-Customer Due Diligence Gateway) และบริการรายงานธุรกรรม (ETR Gateway) ต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

"เน็ตเบย์ได้ยื่นไฟลิ่งต่อ ก.ล.ต.ไปเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอได้ประมาณสิ้นปีนี้ และมั่นใจว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน เพราะเป็นบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง เป็นผู้ให้บริการด้าน e-Business ที่ครบวงจร มีความมุ่งมั่นสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ ตรงกับความต้องการของลูกค้าและเทคโนโลยี" นายมนตรี กล่าว

ด้านนายพิชิต วิวัฒน์รุจิราพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เน็ตเบย์ เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีวัตถุประสงค์นำเงินที่ได้จากการขายหุ้น IPO จำนวน 40 ล้านหุ้น ไปลงทุนพัฒนา Online Services ใหม่ๆ เพื่อให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบการเชื่อมโยงรับ-ส่งข้อมูลและเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ กับ ภาครัฐ และกลุ่มอุตสาหกรรมประกันภัย เป็นต้น

ทั้งนี้ ถ้ามองทั้งระบบ (Ecosystem) ของกลุ่มอุตสาหกรรมประกันภัยนี้ ตั้งแต่ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ข้อมูลของการซื้อ-การขาย-การเคลมทางอิเล็กทรอนิกส์ และการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของตัวแทนภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน โบรกเกอร์ เอเย่นต์ และผู้ซื้อประกัน ตลอดจนข้อมูลที่ต้องการเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ยังมีให้พัฒนาเพื่อการบริการอีกมาก หลายภาคส่วนยังไม่ได้ถูกเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งกันและกันอย่างครบวงจรของธุรกิจนี้ จึงเป็นโอกาสของบริษัทที่มีประสบการณ์อยู่แล้วในการพัฒนาบริการออนไลน์เซอร์วิสใหม่ๆ ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังมีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและหักสำรองตามกฎหมาย

ส่วนแผนการดำเนินงานคาดว่าบริษัทฯ จะสามารถสร้างยอดขายให้เติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งจากการขยายตัวจากธุรกิจปัจจุบัน และจากการเพิ่มการให้บริการในรูปแบบใหม่ ๆ เพราะบริษัทฯ เป็นผู้นำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้าน e-Business ครบวงจรที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและความใส่ใจ โดยคำนึงถึงความพึงพอใจอันสูงสุดของลูกค้า และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ให้มีความมั่นคงและยั่งยืน นอกจากนี้ยังยึดมั่นในนโยบายที่จะดำเนินธุรกิจด้วย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ