"ในส่วนเมียนมาร์ บริษัทได้เข้ารอบประมูล 1 ใน 8 รายของโรงไฟฟ้าที่มัณฑะเลย์ กำลังการผลิต 200 เมกะวัตต์ คาดว่ารัฐบาลพม่าจะตัดสินและประกาศผู้ชนะประมูลได้ไม่เกิน ส.ค.นี้"นายพงษ์ดิษฐ กล่าว
ทั้งนี้ ตามแผนธุรกิจ 10 ปี (ปี 57-66) บริษัทจะใช้เงินลงทุนประมาณ 3 แสนล้านบาทเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอีก 3,857 เมกะวัตต์ เป็น 9,700 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตและอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการรวม 6,543 เมกะวัตต์ โดยปี 58 จะใช้วงเงินลงทุน 1.2 หมื่นล้านบาท สูงกว่าปีนี้ที่ใช้งบลงทุน 4.6 พันล้านบาท โดยปีหน้ามีการลงทุนในโครงการหงสา 5 พันบ้านบาทเพื่อจ่ายส่วนทุน
นายพงษ์ดิษฐ กล่าวว่า กำลังการผลิตที่จะเพิ่มใหม่เข้ามาจะมาจากนอกประเทศ โดยมีพื้นที่เป้าหมายที่เมียนมาร์ และสปป.ลาว ที่เหลือจะมาจากอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนในออสเตรเลียและญี่ปุ่นจะเป็นพลังงานทดแทนทั้งโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม
อีกทั้งมีโครงการโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำในบริเวณแม่น้ำสาละวินทางตอนเหนือ ที่เมืองม่อนตา ประเทศเมียนมาร์ ขนาดกำลังการผลิต 7 พันเมกะวัตต์ เงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการร่วมทุนของบริษัทสัญชาติจีน และบริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่ถือหุ้นอยู่ 30% ซึ่งคาดว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)จะดึงให้ RATCH ร่วมทุนด้วย เพรมะเป็นโครงการใหญ่ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คาดเสร็จในปีนี้หลังจากนั้นเจรจาค่าซื้อขายไฟฟ้า เบื้องต้นคาดว่าใช้เวลาประมาณ 2ปี และใช้เวลาก่อสร้าง 5-6 ปี
นายพงษ์ดิษฐ กล่าวว่า ตามแผนธุรกิจ 10 ปี บริษัทมีเป้าหมายสร้างมูลค่ากิจการ(Enterprise Value) เพิ่มเป็น 2.8 แสนล้านบาท จากปี 56 ที่มีมูลค่า 1.08 แสนล้านบาท ทั้งนี้ Enterprise Value ประกอบด้วย มูลค่าตลาด (Market Cap.)ของหุ้น RATCH รวมหนี้สินและกระแสเงินสด ซึ่งในปี 56 Market Cap.ของหุ้น RATCH อยู่ที่ประมาณ 7.5 หมื่นล้านบาท หนี้สินมี 2 หมื่นกว่าล้านบาท ในปี 66 คาดว่า Market Cap.ของหุ้น RATCH จะเพิ่มมาเป็นประมาณ 1.4 แสนล้านบาท หรือราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเท่าตัว
อนี่ง ราคาหุ้น RATCH ภาคเช้าของวันนี้ปิดที่ 52 บาท
ส่วนหนี้สินก็เพิ่มมาเป็นประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการพิ่มสินทรัพย์หรือโรงไฟฟ้าที่บริษัทขยายกำลังการผลิต โดยคาดว่ากำลังผลิตในเมียนมาร์จะมีสัดส่วน 1 ใน 3 ของกำลังผลิตที่ต้องการเพิ่มอีก 3,857 เมกะวัตต์
นอกจากนี้บริษัทจะมุ่งเน้นการบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่โดยการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าต้องบริหารประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าที่สร้างรายได้ให้เต็มศักยภาพและจัดการสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
ส่วนปีนี้คาดว่ากำไรสุทธิจะสูงกว่าปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 6.18 พันล้านบาท เนื่องจากกบริษัทสามารถลดต้นทุนโรงไฟฟ้าเก่าทุกแห่งแม้ว่าจะไม่มีกำลังผลิตใหม่เข้ามา
ด้านนายวุฒิชัย ตันทุรานันท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่การเงิน RATCH กล่าวว่า แหล่งเงินลงทุนที่ใช้ในการลงทุนตามแผนธุรกิจ 10 ปีข้างหน้าจะมาจากกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ที่คาดมีมากกว่า 200-300 ล้านบาท และเงินกู้ที่บริษัทมีความสามารถกู้เงินจากปัจจุบันมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน(D/E)ที่ 0.2 เท่า สามารถเพิ่มได้อีก 0.8 เท่า หรือไม่เกิน 1 เท่า รวมทั้งสองส่วนคาดระดมทุนได้ราว 5-6 พันล้านเหรียญ
นายสมนึก จินดาทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารสินทรัพย์ RATCH กล่าว่า ในปีนี้บริษัทมีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ที่มีอยู่เดิม 14 แห่ง อีก 1,947 ล้านบาท เพิ่มเป็น 109,947 ล้านบาท หลักๆมาจากโรงไฟฟ้า 3 แห่ง ได้แก่ โรงไฟฟ้าราชบุรี โรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ ทีทั้งสองแห่งเป็นบริหารประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า และบริษัท RATCH -Australia Corporation (RAC)เป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
และ ในปีหน้าปรับมูลค่าเพิ่มเป็น 114,579 ล้านบาท และในปี 2561 เพิ่มเป็น 101,277 ล้านบาท