ทั้งนี้ หากประเมินว่า EPS ตลาดลดลงราว 2-3% จะส่งผลต่อ SET Index น่าจะมีกรอบการเคลื่อนไหวระหว่าง 1,385-1,420 จุด โดยดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 57 จะลดลงเหลือ 1,435-1,420 จุด อิง Expected P/E 14.5เท่า
ASP ระบุว่า นับตั้งแต่ช่วงการทำ Earnings preview และ Earnings results นักวิเคราะห์ ASP ได้ทยอยปรับลดประมาณการกำไรสุทธิตลาดปี 57 ลงไปบ้างแล้วราว 1% จากประมาณการเดิม โดยเป็นการปรับลดในหุ้นหลักคือ ธนาคารพาณิชย์ลดลง 3.4% (ตั้งสำรองเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้) พลังงาน (PTT, TOP จากธุรกิจอะโรเมติกส์ที่ยังย่ำแย่ เพราะ oversupply) ลดลง 2.9% ปิโตรเคมี (PTTGC) 5.6% เกษตร (GFPT จากต้นทุนวัตถุดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้) ลดลง 6.6% และสุดท้ายเป็นกลุ่มบันเทิง
เช้านี้นักวิเคราะห์ ASP กำลังเตรียมปรับลดประมาณการกำไรในปี 2557 ของ RS และ MCOT ลงจากเดิมราว 20% และ 10% หลังจากที่งวด 1Q57 ต่ำกว่าคาด โดยก่อนหน้านี้ได้ปรับลดประมาณการของ BEC ลงไปแล้ว 11% โดยรวมคาดว่ากำไรสุทธิของกลุ่มบันเทิงน่าจะลดลงจากเดิมราว 10%
ตรงกันข้ามมีการปรับเพิ่มกำไรในบางกลุ่ม หลังจากงวด 1Q57 ผลกำไรออกมาดีกว่าคาด เช่น โรงพยาบาลเพิ่มขึ้น 3.06% (จาก BGH เป็นหลักผลจากการลดต้นทุนได้อย่างมาก), ICT เพิ่มขึ้น 6.6% (มาจาก TRUE ที่ขาดทุนลดลงจากการรับรู้กำไรของกองทุน TRUEIF), ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ เพิ่มขึ้น 14.6% (มากจาก KCE และ HANA) กลุ่มขนส่ง เพิ่มขึ้น 12.1% (มาจาก AOT และ BECL ซึ่งได้รับผลดีจากการเปลี่ยนแปลงมาตรการการบัญชี) และกลุ่มยานยนต์ จากการรวมกำไรของหุ้นใหม่ PCSGH 1,200 ล้านบาท ทำให้กำไรในกลุ่มเพิ่มขึ้น 17%
สำหรับการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจงวด 1Q57 นับว่ายังดีกว่าคาด แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเมืองต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 หลังจากที่การเมือง เริ่มก่อความรุนแรงตั้งแต่เดือน ต.ค. เป็นต้นมา โดยพบว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย (GDP Growth) หดตัวเพียง 0.6%yoy ซึ่งดีกว่า ASP คาดว่าจะหดตัว 1.3%yoy (แต่ติดลบ 2.1%qoq) ภาวะเศรษฐกิจชะลอเกิดจากกลไกหลักทำงานไม่เต็มที่คือ
การบริโภคโดยรวมลดลงน้อยกว่าคาด โดยติดลบ 2.1%yoy (เทียบกับ -3.3% งวด 4Q56) โดยเป็นหดตัวของภาคครัวเรือนเป็นหลัก คือ หดตัว 3% ขณะที่ภาครัฐยังขยายตัว 2.9% (เทียบกับ -4.1% และ 0.8% ในงวด 4Q56)
การลงทุนโดยรวมดีกว่าคาดเล็กน้อย โดยติดลบ 9.8% (เทียบกับ -11.4% งวด 4Q56) โดยเป็นการหดตัวของการลงทุนภาครัฐเป็นหลัก คือ หดตัว 19.3% ขณะที่เอกชนหดตัว 7.3% (เทียบกับ -4.7% และ -13.2% งวด 4Q56)
การส่งออกสินค้าและบริการ แย่กว่าคาด โดยหดตัว 0.4% แต่ส่วนใหญ่เป็นหดตัวของภาคบริการ ราว 4.2% ขณะที่การส่งออกสินค้าเริ่มกระเตื้องขึ้นโดยเติบโต 0.8% ส่วนการนำเข้าสินค้าและบริการ ใกล้กับคาด โดยสินค้านำเข้าลดลง 12% ยกเว้นภาคบริการที่ยังขยายตัว 11.2%
หากยึดประมาณการเดิมปี 57 ซึ่งคาดว่าจะเติบโต 2% หมายในช่วงที่เหลือ 3 ไตรมาส ต้องขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าไตรมาสละ 2.9% โดยคาดว่าในงวด 2Q57 น่าจะทรงกับลง เพราะยังไม่เห็นสัญญาณฟื้นตัวใด ๆ แต่ตลาดน่าจะรับรู้ไปบางส่วนแล้ว ขณะที่คาดว่า จะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นอีกครั้งในช่วง 2H57 ภายใต้สมมติฐาน การเมืองผ่อนคลาย(และ เทียบกับงวด 2H56 ที่ขยายตัวได้ 1.7%)เชื่อว่าการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจอาจจะยังมีอยู่ แต่น่าจะอยู่ในอัตราที่ลดน้อยลง หลังจากที่ปรับลดไปมากแล้วก่อนหน้า