โดยในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการายใหญ่เริ่มให้ความสนใจมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อกระจายความเสี่ยงที่เกิดขึ้นภายในประเทศ รวมถึงเพื่อขยายการเติบโตของธุรกิจ ดังนั้น CIMBT จึงคาดว่ารายได้จากการปล่อยสินเช่อธุรกิจขนาดใหญ๋ทั้งปีนี้จะเติบโตได้ถึง 69% จากปี 56 หลังจากมีการดูแลลูกค้าเดิมและได้ลูกค้าใหม่เข้ามามากขึ้น ขณะที่รายได้จากการปล่อยกู้ในอาเซียนคิดเป็นสัดส่วน 30% และในประเทศ 70% ซึ่งธนาคารคาดหวังว่าจะมีสัดส่วนปรับไปเป็น 50:50 ได้ภายในปลายปีนี้
"มองรายได้ปีนี้เติบโตราว 69% จากการขยายฐานไปยังอาเซียน และการเติบโตในประเทศเรื่องเป้าสินเชื่อขนาดใหญ่คาดว่าทั้งปีจะโต 17% มองว่าเราน่าจะมีโอการปรับเพิ่มขึ้น จากที่มีการขยายไปในอาเซียน ทั้งนี้ลูกค้ามีความมั่นใจมากขึ้นหลังเกิดรัฐประหาร จะเห็นได้จากสัญญาณการลงทุนและการขอสินเชื่อ รวมไปถึงโอกาสที่จะเห็นการร่วมทุนต่างๆเริ่มมีมากขึ้น มองว่าในช่วง 2 เดือนข้างหน้าภาพดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนขึ้น"นายพรชัย กล่าว
นายพรชัย กล่าวว่า ผลการดำเนินงานไตรมาสแรกที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนออกมาค่อนข้างดี สายงาน Wholesale Banking สามารถทำรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเติบโต 18% รายได้ค่าธรรมเนียม เติบโต 48% และสามารถสร้างรายได้ที่เกิดจากธุรกรรมเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนเติบโต 55% ขณะที่เป้าหมายหลักของปี 2557 คือ การตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 69% จากปี 2556 โดยตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเติบโต 17% หรือ 1 หมื่นล้านบาทจากปี 2556 ด้านเงินฝากตั้งเป้าจะระดมเงินฝากเข้ามาใหม่เติบโต 21% จากฐานลูกค้าใหม่ 30 บริษัทในปีนี้
“แบงก์เห็นโอกาสอีกมากรออยู่ในตลาดอาเซียน ประตูเปิดรอไว้อยู่แล้วไม่ว่าคุณจะพร้อมหรือไม่ เดิมบริษัทในไทยเคยพึ่งพารายได้จากในประเทศทั้ง 100% หากปัจจัยภายในไม่เอื้ออำนวย รายได้ก็ลดลงไปด้วย แบงก์จึงอยากช่วยลูกค้าหาตะกร้าใบใหม่มากระจายความเสี่ยงด้านรายได้ อนาคตหากยอดขายในประเทศหายไปสักครึ่งหนึ่ง คุณอาจได้รายได้ใหม่จากตลาดนอกประเทศชดเชยกลับมามากกว่าบาทก็ได้ เพราะปลายปี 2558 เมื่อ AEC เกิดขึ้น กำแพงและอุปสรรคต่างๆถูกทำลายลง บ่อปลาจะขยายกลายเป็นมหาสมุทรทันที" นายพรชัย กล่าว
ทั้งนี้ การขออนุมัติสินเชื่อจากธนาคารในไตรมาส 2/57 ยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา แต่มองว่าจะกลับมาดีขึ้นหรือเห็นการยื่นขออนุมัติสินเชื่อมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ซึ่งจะเป็นกลุ่มของสาธารณูปโภคที่เข้ามายื่นขอสินเชื่อมากที่สุด ขณะที่ผู้ประกอบการต่างชาติที่สนใจเข้ามาลงทุนในไทยก็มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อย่างประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งนักลงทุนดังกล่าวยังคงมองประเทศไทยว่ามีศักยภาพในการเติบโตและมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค
นายพรชัย กล่าวว่า ขณะนี้ธนาคารมีความพร้อมเต็มสูบในการรุกธุรกิจขนาดใหญ่ หลังปรับโครงสร้างสายงานธุรกิจขนาดใหญ่ (Wholesale Banking Group) เสร็จสมบูรณ์ โดยผสานพลังสายงานบรรษัทธุรกิจและวาณิชธนกิจเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้บริการลูกค้าได้ครบทุกความต้องการ ใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น เข้าถึงมากขึ้น และบริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ จะรุกธุรกิจด้วยการปักธงเรื่องอาเซียน ซึ่งเป็นจุดแข็งแตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่นๆในตลาด โดยธนาคารได้ตั้งโต๊ะอาเซียนขึ้นมาโดยเฉพาะ
สำหรับโครงสร้างใหม่ของสายงาน Wholesale Banking ประกอบด้วย 5 ทีมหลัก ได้แก่ 1.สายบรรษัทธุรกิจ (Corporate Banking Group) 2.สายวาณิชธนกิจ (Investment Banking Group) 3.ด้านธุรกิจสถาบันการเงิน (Financial Institution Thailand Division) 4.ด้านวิเคราะห์และบริหารความเสี่ยง (Credit and Operational Risk Analytics Division) 5.ด้านกลยุทธ์และสนับสนุนธุรกิจ (Strategy and Support Division) โดยทีมหลักๆเหล่านี้จะทำงานคู่ขนานไปกับโต๊ะอาเซียน โดยแบ่งเป็น ทีมอาเซียน 1 และ ทีมอาเซียน 2 โดย 2 ทีมนี้จะแบ่งกันทำหน้าที่ตามรายอุตสาหกรรมหลักของลูกค้า
“เมื่อเราได้ปรับภายในจนสร้างสายงาน Wholesale Banking เป็นที่เรียบร้อย เราพบว่าคนของเราทำงานประสานกันโดยทุกคนรู้ขอบข่ายงานและหน้าที่ของตัวเองชัดเจน พร้อมแล้วที่จะเดินหน้า ซึ่งผู้ที่จะได้ประโยชน์สูงสุดคือ ลูกค้า เพราะแบงก์จะให้บริการลูกค้าได้ง่ายขึ้น ใกล้ชิดขึ้น ตรงประเด็นมากขึ้น ทำงานสอดผสานกันดีขึ้นกับผลิตภัณฑ์ทุกประเภทในแบงก์ ควบคู่ไปกับเจ้าหน้าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแต่ละรายอุตสาหกรรม ยิ่งไปกว่านั้น จุดแข็งที่แตกต่างจากตลาด คือ ASEAN Platform การมีผู้เชี่ยวชาญในแบงก์ มีคนในกรุ๊ป และมีเครือข่ายทั่วภูมิภาค เราอยากทำงานภายในแนวคิดหลัก ‘I see the Difference’ เพราะถ้ายังทำงานเหมือนผู้เล่นทุกคนในวงการ เราต้องสู้กันด้วยราคา เราจึงขอแข่งด้วยบริการเรื่องอาเซียนที่ดีที่สุด มองเห็นโอกาสที่แตกต่าง และลงไปทำในสิ่งที่แตกต่างจริงๆ"