บล.กรุงศรี ระบุในบทวิเคราะห์ฯว่า ราคาหุ้น บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(DTAC)ในสัปดาห์ก่อนปรับลดลงราว 16% นอกจากความกังวลว่าบริษัทจะเสียส่วนแบ่งตลาด หลังจากที่คู่แข่ง TRUE ได้พันธมิตรไชน่าโมบาย ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมระดับโลก ยังมีประเด็นการตรวจสอบการถือหุ้นต่างชาติและเกณฑ์ใหม่ในการประมูลที่เป็นลบต่อ DTAC
ในขณะที่ประเด็นการถอดหุ้นออกจากตลาดสิงค์โปร์ มองว่าไม่กระทบต่อปัจจัยพื้นฐาน จึงคงคำแนะนำ"ถือ"เนื่องจากหุ้นให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลราว 5-6% จากราคาปัจจุบัน เบื้องต้นคงมูลค่าพื้นฐานที่ 112 บาท (ประเมินโดยวิธี DCF ที่ส่วนลด 10.5% terminal growth rate ที่ 2%) อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรติดตามข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การประมูล 1800 ซึ่งจะมีผลต่อภาพธุรกิจของบริษัท
ส่วนที่ดีแทคส่งสารขออภัย กสทช.และคสช.ผ่านสื่อทั่วโลก จากที่ Telenor Group ได้เผยแพร่ข้อมูลต่อสื่อทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่เป็นการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารระดับสูงในประเทศนอร์เวย์ ซึ่งการกระทำนี้ได้ทำให้เกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) และ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผู้ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และการรักษาความมั่นคงของชาติ ตามลำดับ ผู้บริหาร Telenor Group และ Total Access Communication (dtac) จึงได้ส่งจดหมายแกลงการณ์ขอโทษโอกาสนี้ขออภัยต่อ กสทช. และ คสช.
ประเด็นดังกล่าว มองเป็นปัจจัยลบที่กระทบต่อราคาหุ้นของ DTAC ในระยะสั้น ประเด็นการตรวจสอบผู้ถือหุ้นต่างชาติ หากอิงตามกฎหมายถือเป็นประเด็นเดิมที่ทาง ADVANC และ DTAC ได้ชี้แจงไปแล้วก่อนที่จะประมูล 3G ซึ่งกรณีเลวร้ายหาก กสทช.มีการตรวจสอบเข้มงวดมากขึ้น ทั้งสองบริษัทคาดว่าจะมีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นเพื่อให้เข้าประมูลได้
ในขณะที่ประเด็นที่กังวลมากกว่าคือ เกณฑ์ใหม่ที่ทาง กสทช.จะกำหนดเพดานการถือครองคลื่นสำหรับผู้ที่จะเข้าร่วมประมูลได้รายละไม่เกิน 25 MHz ซึ่งจะนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ด 18 มิ.ย นี้ หากเกณฑ์นี่นำมาใช้จะกระทบต่อ DTAC โดยตรงเนื่องจากปัจจุบันถือครองคลื่น 1800 MHz รวม 50 MHz ทำให้เป็นรายเดียวที่ไม่สามารถเข้าประมูล