เนื่องจากภัยทั้ง 3 ด้านคือโรคติดต่อ การก่อการร้าย และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม ส่วนท่าอากาศยานนั้นเป็นพื้นที่เปิด มาตรการรองรับต้องเข้มข้นจากปกติที่ต้องปฎิบัติตามมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
นายเมฆินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์โรคติดต่อ การก่อการร้าย และภัยพิบัติทางธรรมชาติมีแนวโน้มรุนแรงและถี่มากขึ้น โดยเฉลี่ยจากเดิมเกิดในรอบ 25ปี ลดเหลือ 10 ปีและล่าสุดเหลือ 7 ปี ซึ่งเหตุที่เกิดแต่ละครั้งจะมีผลกระทบค่อนข้างสูง และมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย และทั่วโลก ซึ่งล่าสุดได้เกิดเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปลายปี 2554 เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย และการก่อการร้ายที่พื้นที่ภาคใต้ ดังนั้นทอท.ในฐานะผู้ดูแลและบริหารท่าอากาศยาน 6 แห่งจึงต้องเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและเครื่องมือให้เพียงพอและมีคุณภาพ รวมถึงนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและบรรเทาภัยต่างๆ
ทอท.จะต้องนำข้อมูลและปัญหาในการเผชิญภัยที่ผ่านมาปรับปรุง โดยนอกจากการฝึกซ้อมตามมาตรฐานแล้ว หลังจากนี้จะต้องประสานกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญภัยในแต่ละด้านและจัดประชุมเชิงปฎิบัติการ (Work Shop) ร่วมกันทุก ๆ 3 เดือน เพื่อทำความเข้าใจและให้การทำงานเมื่อเกิดเหตุสอดคล้องเชื่อมโยงกัน รวมถึงประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ให้พนักงานและผู้โดยสารมีความเข้าใจที่ตรงกัน“นายเมฆินทร์กล่าวหลังเป็นประธานเปิดการเสวนาเรื่อง “ ทอท.กับการเตรียมความพร้อมเผชิญภัยโรคติดต่อ ภัยจากการก่อการร้าย และภัยพิบัติทางธรรมชาติ"
ด้านว่าที่ ร.ท.ภาสกร สุระพิพิธ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานมาตรฐานท่าอากาศยานและการบิน ทอท.กล่าวว่า สิ่งที่ต้องดำเนินการ คือการบูรณาการระหว่างหน่วยงานอย่างจริงจัง ที่ผ่านมามีการฝึกซ้อมตามกฎมาตรฐานการบิน แต่ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้เข้าร่วมทุกคน ในขณะที่เมื่อเกิดเหตุหรือภัยต่างๆ ทุกคนต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเผชิญเหตุแต่กลับไม่เคยร่วมฝึกซ้อมดังนั้นต้องทบทวนแผนฉุกเฉินต่างๆ ปรับปรุงเพื่อให้ทุกคนรับรู้และเข้าใจเหมือนกัน และเพิ่มมาตรการรับมือในเรื่องการก่อการร้ายที่เปลี่ยนรูปแบบไป เช่น การก่อการร้ายทางโลกไซเบอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของทอท. มีแผนที่จะติดตั้งเครื่อง CTX ในท่าอากาศยานภูมิภาคเพิ่มเติม