ทั้งนี้ ในปี 56 บริษัทมีรายได้จากค่าโดยสารราว 10,542 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 1,066 ล้านบาท
นายพาที กล่าวว่า บริษัทได้รับผลกระทบทางการเมืองในช่วงครึ่งปีแรกที่นักท่องเที่ยวลดน้อยลงจาก Senttiment ที่ไม่ดีทั้งๆ ที่เป็นช่วงไฮซีซั่น โดยเฉพาะเดือน พ.ค.57 ตัวเลขผู้โดยสารตกลงไปมากอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่อัตราส่วนบรรทุกผู้โดยสาร (cabin factor)ปรับลงมาที่ต่ำสุดในระดับ 78-80% จนนำไปสู่สงครามตัดราคาตั๋วโดยสารกัน(Price War)
อย่างไรก็ดี หลังจากที่มีการทำรัฐประหารทำให้การเมืองนิ่ง สถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่สงบ ส่งผลทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวดีขึ้น โดยตัวเลขล่าสุดในช่วง 1-9 ก.ค.ที่ผ่านมา cabin factor ฟื้นตัวขึ้นมาที่เฉลี่ย 90%
"แย่สุดๆเดือน May และ June มัน Drop มากๆ ปฏิวัติทำให้ทุกอย่างนิ่ง นิ่งไป 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นทุกอย่างเริ่มดีขึ้น July เห็นชัดเจน" นายพาที กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังปีนี้แม้มองว่าธุรกิจจะฟื้นตัว แต่ก็ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะหากตลาดยังใช้ Price War กันอยู่เหมือนช่วงที่ผ่านมา ซึ่งสายการบินนกแอร์ได้ปรับลดราคาตั๋วไป 10-15% เพือสู่กับคู่แข่ง ทำให้กระทบต่อรายได้ของบริษัท
นายพาที กล่าวว่า แม้รายได้และกำไรจะปรับลดไปบ้าง แต่บริษัทมั่นใจว่ายอดผู้โดยสารในปีนี้จะได้ตามเป้าหมายที่ 7 ล้านคน และ cabin factor เฉลี่ยทั้งปี 57 ที่ 80% ซึ่งเป็นผลจากการที่บริษัทเดินหน้าเปิดเส้นทางบินใหม่ ซึ่งในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาเปิดเส้นทางดอนเมือง-ปากเซ ของลาว และในเดือน ก.ค.เปิดเส้นทางดอนเมือง-ขอนแก่น และเตรียมเปิดเส้นทางบินใหม่ ดอนเมือง-ลำปางในเดือน ก.ค.นี้
ส่วนเส้นทางต่างประเทศจะเปิดเที่ยวบินใหม่ กรุงเทพ-โฮจิมินห์ ในเดือน ต.ค.นี้ หลังจากเปิดบินกรุงเทพ-ย่างกุ้ง เมื่อม.ค.57 ได้รับการตอบรับอย่างดี ปัจจุบันมี cabin factor เฉลี่ย 80-90% เพิ่มขึ้นจากช่วง 3 เดือนแรกที่เริ่มเปิดบินมี cabin factor 30%
ทั้งนี้ รายได้จากเส้นทางในประเทศยังเป็นหลักสัดส่วนกว่า 80% ส่วนรายได้จากเส้นทางต่างประเทศจะไม่เกิน 20%
*ต้งเป้ารายได้ 3 ปีโตเฉลี่ยปีละ 15% ตามการเพิ่ม capacity ด้วยการขยายฝูงบิน
สำหรับการจัดหาเครื่องบินใหม่ในแผนงาน ประกอบด้วย เครื่องบินโบอิ้ง Next-Generation 737-800 จำนวน 8 ลำ และโบอิ้ง 737 MAX จำนวน 7 ลำ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องบินบอมบาดิเอร์ Q400 NextGen อีกจำนวน 6 ลำ ซึ่งจะมาแทนเครื่องบิน ATR 72-500
ดังนั้น สิ้นปี 62 ฝูงบินของนกแอร์จะขยายเป็น 21 ลำ จะทำให้ capacity เพิ่มขึ้น 15-20% การเพิ่มกำลังการผลิตเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ ที่จะเปิดเส้นทางบินใหม่ทุก 6 เดือนเพราะต้องการทำตลาดให้ดีทีละจุดบิน ทั้งจุดบินในประเทศและต่างประเทศ และเพิ่มความถี่การบินในจุดบินที่มีจำนวนผู้โดยสารมาก ได้แก่ เชียงใหม่
และยังช่วยประหยัดน้ำมัน โดยต้นทุนน้ำมันจะลดลงราว 20-25% รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุง
"ธุรกิจการบินเป็นธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงเร็ว คน(ผู้โดยสาร)ก็เปลี่ยน สิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยนเร็ว เราต้องปรับเปลี่ยนให้ทัน...เราเป็นบริษัทคนไทย เรามีหลายเมืองที่เราบินไป และมีจุดแข็งเรา Friendly เรามี Innovative เรามี wifi บริการฟรีให้ผู้โดยสาร" นายพาที กล่าว
นอกจากนี้ สายการบินนกแอร์ ซึ่งเป็น Premium Lowcost Airline ได้ร่วมมือกับ Scoot Pte.,Ltd.:ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำเครือสิงคโปร์แอร์ไลน์ จัดตั้งบริษัทร่วมทุน ชื่อ บริษัท สายการบินนกสกู๊ด จำกัด โดย NOK ถือหุ้น 51% และ Scoot ถือ 49% โดย NOK เป็นผู้ควบคุมการบริหาร ขณะที่ Scoot จะช่วยจัดหาเครื่องบิน โดยระยะแรกจะมีเครื่องบิน 2-3 ลำ เป้าหมายจุดบินในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ไต้หวัน และฮ่องกง
นายพาที กล่าวว่า คาดว่าจะเริ่มบินตรงไปยังญี่ปุ่นเป็นจุดแรก น่าจะเปิดตัวได้ภายในเดือนต.ค.-พ.ย.นี้