สำหรับธุรกิจกุ้งมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น อุปทานกุ้งเริ่มกลับมา ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งเริ่มทยอยเพิ่มมากขึ้น หลังจากเผชิญปัญหาโรคระบาด EMS ในกุ้งเป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน
ด้านการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯที่ปรับลดอันดับประเทศไทยมาอยู่ที่ Tier 3 ส่งผลให้ลูกค้าระงับการซื้อ แต่ไม่ค่อยกระทบเพราะมียอดขายแค่ 1.5% ของยอดรวม
โบรกฯ คำแนะนำ ราคาเป้าหมาย (บาท) บล.ทรินิตี้ ซื้อ 37.00 บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ซื้อ 35.75 บล.คันทรี่กรุ๊ป ซื้อ 35.00 บล.ฟินันเซียไซรัส ซื้อ 34.50 บล.เคจีไป (ประเทศไทย) ซื้อ 33.00
นักวิเคราะห์ บล.ทรินิตี้ มองว่า แนวโน้มของกำไรปกติของ CPF ในไตรมาส 2/57 เติบโตอย่างโดดเด่น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีผลการดำเนินงานขาดทุน และเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/57 กำไรปกติจะเพิ่มขึ้นกว่า 100 ล้านบาท โดยมีปัจจัยที่ส่งผลดีต่อธุรกิจมาจากทิศทางราคาเนื้อสัตว์อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี โดยเฉพาะราคาเนื้อหมูเพิ่มสูงขึ้นระดับสูงสุด หรือ นิวไฮ ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นราว 19% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จึงให้มาร์จิ้นที่ดี ขณะที่ราคาเนื้อไก่ยังทรงตัว แต่คาดว่าจะยังอยู่ในระดับที่สูงจนถึงสิ้นปีนี้ และในส่วนธุรกิจกุ้งปีนี้ยังมองว่าอาจจะทยอยปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย
"CPF ในไตรมาส 2/57 กำไรมีการเติบโตอย่างโดดเด่น ถ้าเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนก็เรียกได้ว่าดีมาก เพราะปีก่อนขาดทุน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/57 ก็มีกำไรเพิ่มขึ้นมา 100 กว่าล้านบาท ตัวที่เป็นพระเอกและมีผลอย่างมีนัยสำคัญต้องเป็นราคาเนื้อหมูที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทำนิวไฮ ทำให้มีมาร์จิ้นดีขึ้นและกำไรก็ดีตาม แต่รายได้นั้นดูๆแล้วก็ยังทรงตัว" นักวิเคราะห์ บล.ทรินิตี้ กล่าว
ด้านผลกระทบจากฝั่งสหรัฐฯที่ปรับประเทศไทยไปอยู่ Teir 3 ในรายงานค้ามนุษย์และการที่สหภาพยุโรป(EU)ระงับการเจรจาระหว่างรัฐกับไทยนั้นยังไม่มีมาตรการที่ออกมาเป็นรูปธรรม และปัจจุบันมีห้างค้าปลีกบางรายระงับการรับสินค้าจากทาง CPF ทำให้ยอดขายลดลง แต่คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.2% หรือราว 700-800 ล้านบาท ไม่กระทบต่อรายได้รวมมากนัก แต่อย่างไรก็ตามสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีที่จะหมดลงในปีนี้อาจมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อการส่งออกสินค้าของ CPF ในปีหน้า
ด้านนักวิเคราะห์ฯ บล.คันทรี่ กรุ๊ป มองว่าผลการดำเนิน CPF เติบโตขึ้น โดยเฉพาะในไตรมาส 2/57 กำไรปกติเพิ่มขึ้น 35-40% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/57 เนื่องจากราคาเนื้อหมูเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว หรือราว 70-80% จากไตรมาส 1/57 ส่งผลให้กำไรในไตรมาส 2/57 เติบโตอย่างโดดเด่น
ส่วนธุรกิจกุ้งครึ่งปีหลังจะเริ่มมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจกุ้งแปรรูปของ CPF เริ่มฟื้นกลับมาได้ และส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจสัตว์น้ำที่จะฟื้นขึ้นมาได้เช่นกัน หลังจากได้รับผลกระทบจากโรคกุ้ง EMS ตั้งแต่ปลายปี 55 ที่ผ่านมา
สำหรับการที่สหรัฐฯปรับลดอันดับของประเทศไทยมาอยู่ที่ Teir 3 จากสาเหตุการค้ามนุษย์ ส่งผลให้มีคู่ค้า 2-3 ราย ยกเลิก แต่ไม่มีผลกระทบกับ CPF มากนัก ส่วน Carefour ก็กลับมาสั่งซื้อสินค้ากับทาง CPF อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐฯและสหภาพยุโรปนั้นคิดเป็นสัดส่วนไม่มากนักเพียง 1.5% ของยอดขายเท่านั้น ทำให้การยกเลิกคำสั่งซื้อของลูกค้า 2-3 รายนั้นไม่มีผลกระทบต่อ CPF มากนัก
ขณะที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย) คาดว่า กำไรปกติของ CPF ไตรมาส 2/57 เพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/57 และฟื้นตัวจากไตรมาส 2/56 ที่ขาดทุน 944 ล้านบาท จากราคาขายเนื้อสัตว์บกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาเนื้อหมูเพิ่มขึ้น 8% จากไตรมาส 1/57 และเพิ่มขึ้น 19% จากไตรมาส 2/56
สำหรับธุรกิจกุ้งมองว่ายังคงขาดทุนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปริมาณกุ้งยังขาดแคลน แต่ผลผลิตจะค่อยๆเริ่มฟื้นตัวขึ้นกลับมาในปีนี้ราว 20% เนื่องจากเกษตรกรเริ่มกลับมาเลี้ยงกุ้งอีกครั้งและมีอัตรารอดของกุ้งเพิ่มขึ้นเป็น 80%
ด้านผลกระทบจาการที่สหรัฐฯปรับลดอันดับของประเทศไทยมาอยู่ที่ Teir 3 จากรายงานการค้ามนุษย์ ทำให้เครือข่ายการค้าปลีกในสหรัฐฯและยุโรปที่เป็นลูกค้าของ CPF มีการยกเลิกคำสั่งซื้อหรือมีการชะลอการสั่งซื้อนั้น จะส่งผลกระทบค่อยข้างน้อยมากต่อ CPF เนื่องจากยอดส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐฯและยุโรปมีสัดส่วนอยู่ที่ 1.4-1.5% ของยอดขายรวม
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย)คาดว่ากำไร CPF ในไตรมาส 2/57 จะออกมาแข็งแกร่ง กำไรปกติในไตรมาส 2/57 น่าจะทำได้ราว 2.4 พันล้านบาท พลิกฟื้นกลับมาจากไตรมาส 2/56 ที่ขาดทุน 1.6 พันล้านบาท จากธุรกิจขายเนื้อสัตว์บกที่ราคาเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศเทศและในภูมิภาคโดยเฉพาะราคาเนื้อหมูที่ยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอุปทานลดลงจากโรคระบาดหมู
ขณะที่ธุรกิจกุ้งเริ่มมีการฟื้นตัวขึ้น ปิมาณผลืตผลกุ้งเริ่มทยอยกลับมา หลังจากเจอโรค EMS ระบาดในกุ้งอย่างหนัก โดยคาดว่ายอดขายกุ้งในไตรมาส 2/57 เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนการที่สหรัฐฯได้ปรับลดอันดับของไทยจากรายงานการค้ามนุษย์ ทำให้มีลูกค้าของ CPF บางรายยกเลิกคำสั่งซื้อ ยังไม่ส่งผลที่เป็นัยสำคัญต่อภาพรวมของ CPF เนื่องจากสัดส่วนที่ขายในสหรัฐฯและยุโรปนั้นไม่มากนัก