ส่วนการคุมระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในปี 57 จะรักษาระดับให้อยู่ที่ 3% ซึ่งต่ำกว่าปี 56 ที่ 4% โดยในครึ่งปีแรกของปี 57 ระดับ NPL ของธนาคารอยู่ที่ 3.4%
นายบุญทักษ์ กล่าวถึงการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ในครั้งนี้ว่า คาดว่าจะมีการส่งสัญญาณการลดมาตรการ QE ซึ่งหลังจากนี้ไปอยากให้จับตาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลให้กระแสเงินทุนที่เข้ามาในตลาดเกิดใหม่ไหลกลับเข้าไปตลาดในสหรัฐฯ
การประชุมเฟดปกติทุกการประชุมก็จะส่งสัญญาณการลด QE แต่อยากให้จากนี้ไปมองที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯมากกว่า เพราะจะส่งผลให้เงินที่เคยไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ไหลกลับไปสหรัฐฯ ซึ่งตรงนี้ต้องมาดูว่าจะบริหารเงินอย่างไร พอเงินไหลออกไปจะทำให้สภาพคล่องในตลาดลดลง ซึ่งอยากเตือนให้ภาคธุรกิจมีการเตรียมตัวเพื่อรับมือไว้ และทางแบงก์เองก็ต้องเตรียมตัวกับสิ่งที่จะเกิดแรับมือกับการขึ้นดอกเบี้ยให้ได้ ส่วนไทยเองก็มีการลงทุนที่ยังผลักดันเศรษฐกิจอยู่ แต่ต้องยอมรับว่าสภาพคล่องจะค่อยลดลง
"อยากให้ภาคธุรกิจเตรียมตัวกับสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้น ซึ่งถ้าเงินทุนไหลกลับไปแล้วนั้นจะทำให้สภาพคล่องในระบบลดลง และมีโอกาส อย่างไรก็ตามธนาคารก็ต้องมีการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบของการคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ" นายบุญทักษ์ กล่าว
ด้านนายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ TMB กล่าว่า ภายในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะมีการยกเลิกการใช้มาตราการ QE และในช่วงต้นปี 58 จะเริ่มมีการส่งสัญญาณของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ และคาดว่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในช่วงไตรมาส 3/58 โดยผลกระทบก่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯนั้นจะส่งผลให้ในช่วงต้นปี 58 ค่าเงินบาทมีความผันผวนค่อนข้างมาก "ในการประชุมเฟดที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้นั้นคาดว่าจะมีการส่งสัญญาณการยกเลิก QE อย่างต่อเนื่อง เพราะทุกการประชุมของเฟดก็จะส่งสัญาณการลด QE อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสิ้นสุดมาตราการนี้ในเดือนตุลาคม และอาจทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย ใกล้เคียง 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าเงินบาทจะผันผวนมาก ถ้าเฟดมีการส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ย"นายเบญรงค์ กล่าว
สำหรับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ครึ่งปีแรกประเมินว่าจะเติบได้ที่ 2% และทั้งปี 57 คาดว่าจะขยายตัวที่ 2% เช่นกัน โดยปัจจัยที่ส่งผลบวกในครึ่งปีหลังเป็นทิศทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นและเริ่มมีการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนเพิ่มมากขึ้น
ส่วนด้านการส่งออกในบางธุรกิจเริ่มเห็นการขยายตัวที่ดีขึ้น แต่ก็มีบางธุรกิจก็ยังหดตัวอยู่ สำหรับการส่งออกไปยังประสหรัฐฯ ยุโรป และประเทศในกลุ่ม CLMV ในปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในระดับที่ดี แต่สำหรับตลาดส่งออกในภูมิภาคเอเชียอาจมีการชะลอตัวลงบ้าง แต่มองว่าหลังจากเปิดการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) สินค้าอุปโภคบริโภคจะขยายตัวได้ดีมาก โดยเฉพาะการค้าขายระหว่างชายแดน ประกอบกับการลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศให้มากขึ้น
ด้านนายทิม คอนดอน ผู้บริหารงานวิจัยเอเชีย ไอเอ็นจี กรุ๊ป เปิดเผยว่า การที่เศรษฐกิจสหรัฐฯค่อยมีการฟื้นตัวขึ้นโดยจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯมีการยกเลิกมาตรการ QE ในท้ายที่สุด ซึ่งมีการคาดเดาออกมาค่อนข้างมาก และนอกจากนี้จะมีการค่อยๆส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้ตลาดทั่วโลกเกิดความผันผวนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 58 โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ที่กระแสเงินมีโอกาสไหลออกกลับไปตลาดในสหรัฐฯ ทำให้จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อตลาดเกิดใหม่