เนื่องจากได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนจากการสร้างโรงกลั่นใหม่บนพื้นที่ใหม่และมีโรงงานปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในพื้นที่เดียวกัน กลายมาเป็นการใช้โรงกลั่นเก่าในอินโดนีเซียมาปรับปรุงเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 2 แสนบาร์เรล/วันแล้วจึงต่อยอดไปสู่โรงงานปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปผลการศึกษาร่วมกันภายใน 6-9 เดือน หรือประมาณต้นปี 58
"โครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ที่ร่วมทุนกับเปอร์ตามีนาล่าช้าไปเพราะเปลี่ยน concept มาใช้โรงกลั่นเก่ามา revamp ต่อยอดปิโตรเคมี คิดว่าใช้เวลา6-9 เดือนสรุปผลโครงการปีหน้าก็ได้ความชัดเจนแล้วถึงเดินหน้า"นายประเสริฐ กล่าว
อย่างไรก็ตาม กรอบวงเงินลงทุนของโครงการดังกล่าวยังคงเดิมที่ 4.5 พันล้านเหรียญ กำลังการผลิต 1 ล้านตัน/ปีทั้งอะโรเมติกส์และโอเลฟินส์ โดยในส่วนของงานปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มกำลังการผลิตโรงกลั่นเดิมนั้น ทางกลุ่ม ปตท.โดย บมจ.ไทยออยล์ (TOP)จะเจ้ามาร่วมดำเนินการด้วย จากแผนเดิมจะเข้ามาร่วมลงทุนโรงกลั่นใหม่กับเปอร์ตามีน่า
ประธานกรรมการ PTTGC กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจใน จ.ระยองฟ้องร้องค่าเสียหายจากเหตุน้ำมันรั่วเมื่อวันที่ 27 ก.ค.56 กว่า 1 พันล้านบาทว่า ทางบริษัทเคารพการพิจารณาของศาลว่าจะตัดสินออกมาในรูปแบบใด แต่ขอยืนยันว่าบริษัทไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบ ที่ผ่านมาได้เข้าฟื้นฟูทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยมีผู้มารับค่าชดเชยไปแล้วกว่า 1 หมื่นราย
นายประเสริฐ ยังกล่าวในฐานะที่ได้รัลบแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัตติแห่งชาติ (สนช.) และประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD)ว่า จะนำเรื่องความไม่เข้าใจเรื่องข้อมูลด้านพลังงานของประเทศไปหารือ เพราะที่ผ่านการให้ข้อมูลไม่สะท้อนข้อเท็จจริงเป็นจำนวนมาก คงจะหารือกันว่าดำเนินการอย่างไร เพราะไม่เช่นนั้นจะกระทบความมั่นคงพลังงาน ในขณะเดียวกันจะนำเรื่องสิ่งแวดล้อม พลังงาน การดูแลทรัพยากร และการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไปหารือด้วยว่าจะออกฏหมายหรือปรับปรุงกฏหมายเดิมให้สิ่งเหล่านี้เชื่อมต่อกันอย่างไร
ทั้งนี้ TBCSD และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ลงนามบัณทึกข้อตกลง"วารสาร Green Society by TBCSD ร่วมพัฒนาการศึกษาผ่านศูนย์เรียนรู้ดิจิทัล ของ สสวท. เพื่อนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ไปเผยแพร่พัฒนาประเทศ ขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ -411