กองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัสโรลโอเวอร์ 6เดือน5 (FAM FIPR6M5) จะพิจารณาลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงินและ/หรือ เงินฝากของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ เงินฝากธนาคารต่างประเทศสกุลเงิน USD, CNY, HKD, EUR, JPY กับธนาคาร BOC (Macau), Standard Chartered Bank (Hong Kong), ธนาคาร CIMB Niaga (Indonesia) หรือเงินฝากสกุลเงิน AED ธนาคาร Abu Dhabi Commercial Bank, UAE (F1), ธนาคาร Union National Bank, UAE(P-1), ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ, ตั๋วแลกเงิน บมจ.ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) (BBB), ตั๋วแลกเงิน บมจ.เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง(BBB+), บมจ. เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น(BBB+), ตั๋วแลกเงิน บมจ.ราชธานีลิสซิ่ง (BBB+), บจ.บีเอสแอล ลีสซิ่ง(BBB) หรือตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB ขึ้นไป, ตั๋วเงินคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.0% ต่อปี แม้จะประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น การใช้จ่ายภาคเอกชนดีขึ้นหลังเหตุการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย และมีการกระตุ้นด้านการคลังเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บลจ.ฟินันซ่า ประเมินว่าขั้นตอนการเบิกจ่ายต้องใช้เวลา ทำให้เม็ดเงินจากการดำเนินนโยบายการคลังยังไม่ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเร็วอย่างที่คาดการณ์กัน
ด้านความขัดแย้งระหว่างประเทศยังไม่สงบ โดยในวันที่ 10 สิงหาคม 57 กองทัพสหรัฐได้โจมตีทางอากาศทำลายอาวุธยุทโธปกรณ์ของกลุ่ม ISIS ประเทศอิรัก สร้างแรงกดดันให้กับทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจโลก จากความเสี่ยงด้านการขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่ยังเปราะบาง ทำให้คาดว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป
"ในภาวะที่ตลาดมีความผันผวนเช่นนี้ บลจ.ฟินันซ่า จึงแนะนำให้กระจายลงทุน โดยนอกเหนือจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง อย่างเช่น หุ้น ทองคำ หรือน้ำมันแล้ว ควรแบ่งเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงต่ำ แต่ให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอนด้วย"นายธีรพันธุ์ กล่าว