ปัจจุบัน ปตท.ลงทุนแหล่งปิโตรเลียมในเมียนมาร์จำนวน 12 แหล่ง โดยมีแหล่งที่สำรวจและผลิตแล้ว อาทิ แหล่งยาดานา เยตากุน และซอติก้า หรือเอ็ม 9 โดยแหล่งซอติก้าได้ส่งก๊าซฯเข้ามายังประเทศไทยแล้ว 240 ล้าน ลบ.ฟ./วัน และสามารถเพิ่มการผลิตได้ถึง 270 ล้าน ลบ.ฟ./วัน
ขณะที่แหล่งบนบกมี 3 แหล่ง ได้แก่ แปลงอีพี 2 ,เอ็มโอจีอี 3 และพีเอสซีจี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่แหล่งพีเอสซีจีได้มีการทดสอบศักยภาพพบว่าสามารถผลิตก๊าซได้ ขณะที่แหล่งในทะเล เช่น เอ็ม 3 ก็มีศักยภาพ เพราะเบื้องต้นพบก๊าซเปียกที่สามารถนำมาผลิตปิโตรเคมี คาดว่าการสำรวจจะชัดเจนปลายปีนี้ หากพบว่าปริมาณสำรองมากเพียงพอก็อาจจะหารือรัฐบาลเมียนมาร์เพื่อผลิตก๊าซป้อนโรงงานปิโตรเคมีในพื้นที่ด้านใต้ของเมืองย่างกุ้ง
ส่วนแหล่งน้ำลึก เอ็มดี 7, 8 และ 11 จะลงทุนสำรวจหรือไม่นั้น ต้องศึกษาศักภาพขั้นต้นให้ชัดเจนในระดับหนึ่งก่อน เพราะมีต้นุทนสูงถึง 100 ล้านเหรียญสรัฐต่อหลุม เทียบกับแหล่งน้ำตื่นอยู่ที่ 10 ล้านเหรียญสหรัฐต่อหลุม โดยก่อนหน้านี้บริษัทลงทุนสำรวจในแหล่งเอ็มดี 11 ไปแล้วแต่ไม่พบ โดยมีค่าเจาะสำรวจ 70 ล้านเหรีญสหรัฐ
"ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน จะเดินทางไปเยือนเมียนมาร์ในวาระครบรอบ 25 ปีที่ ปตท.สผ.เข้าไปดำเนินธุรกิตในเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเมียนมาร์ด้วย" นายอัษฎากร กล่าว