กองทุนดังกล่าวจะพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทางการเงิน และ/หรือ เงินฝากของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ เงินฝากธนาคารต่างประเทศสกุลเงิน USD, CNY, HKD, EUR, JPY กับธนาคาร BOC (Macau), Standard Chartered Bank (Hong Kong), ธนาคาร CIMB Niaga (Indonesia) หรือเงินฝากสกุลเงิน AED ธนาคาร Abu Dhabi Commercial Bank, UAE (F1), ธนาคาร Union National Bank, UAE(P-1), ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ, ตั๋วแลกเงิน บมจ.ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) (BBB), ตั๋วแลกเงิน บมจ.เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง(BBB+), ตั๋วแลกเงิน บมจ.ราชธานีลิสซิ่ง (BBB+), บจ.บีเอสแอล ลีสซิ่ง(BBB) หรือตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB ขึ้นไป, ตั๋วเงินคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ทั้งนี้ บลจ.ฟินันซ่าประเมินจากการที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง จากความคาดหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED อาจส่งผลให้ภาวะเงินทุนต่างชาติให้ไหลออกจากภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งจะเห็นมุมมองที่ชัดเจนจาก FOMC (Federal Open Market Committee) ที่มีการประชุมกันในวันอังคารถึงวันพุธนี้ ด้านสงครามยูเครนและรัสเซียที่เริ่มกลับมาปะทะกันอีกครั้งหลังจากหยุดยิงกันมา 8 วัน โดยมีออสเตรเลียและอังกฤษร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาในการจัดการกับกลุ่ม IS ยังคงสร้างความกังวลให้กับนักลงทุน
อีกทั้งแนวโน้มของประเทศไทยในมุมมองของ S&P ยังทรงตัวคือความเสี่ยงด้านเครดิตมีแนวโน้มคงที่ จากภาวะการเมืองที่ยังไม่แน่นอน และระดับรายได้ของประชาชนค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุนจากภาคต่างประเทศที่แข็งแกร่ง หนี้ภาครัฐไม่สูงมาก และประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่านมา ในสภาวะตลาดที่มีความผันผวนและมีแนวโน้มไปในทางลบ การลดความเสี่ยงโดยลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ประเภทครบกำหนดอายุโครงการประเภท 3 เดือนตอนนี้ จึงเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน