ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวะจะผลักดันโครงการไปสู่การดำเนินการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้วัตถุดิบทางการเกษตร ต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมแปรรูปและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างให้เกิดการลงทุนจากผู้พัฒนาและเจ้าของเทคโนโลยีการผลิต เพื่อให้อุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมสามารถเติบโต ก่อให้เกิดคุณค่าและคุณประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค สังคม สิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืนต่อไป
“ตามข้อตกลงนั้น จะมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ ในด้าน Business model, โครงสร้างโครงการ, วัตถุดิบ, แผนการลงทุน และ Biohub Road Map โดยมีระยะเวลาศึกษาประมาณ 8 เดือน" นายประพันธ์ กล่าว
ด้านนายณัฎฐปัญญ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจชีวพลังงานและผลิตภัณฑ์ กลุ่ม KTIS กล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มฯ การพัฒนา Biohub ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายแห่งชาติในการส่งเสริม Green Industry ซึ่งบริษัทยินดีที่จะใช้ประสบการณ์กว่า 50 ปีที่ดำเนินธุรกิจเคียงคู่มากับชาวไร่อ้อยเพื่อผลิตน้ำตาลทราย อีกทั้งต่อยอดไปยังผลิตภัณฑ์พลอยได้อย่างครบวงจรที่นำมาซึ่ง Zero Waste เพื่อสนับสนุนนโยบายนี้อย่างเต็มที่
“ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและมีแหล่งวัตถุดิบที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะอ้อยหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตน้ำตาลทรายและผลิตภัณฑ์พลอยได้ และเคทิสก็เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งนี้ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์พลอยได้ เช่น เอทานอล ยังไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย เราเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดและเพิ่มมูลค่าได้อีกมาก เพราะอ้อยมีศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัด ซึ่งการผนึกกำลังกับ PTTGC เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา Biohub จะมีส่วนช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้กับชาวไร่อ้อย ชุมชน ไปจนถึงประเทศชาติ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย" นายณัฎฐปัญญ์ กล่าว