ทั้งนี้ ผลการสำรวจอ้างอิงปี ค.ศ.2006-2012 พบว่าในปี 2009 มีการเกิดวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและบจ.ที่ไม่ถูกจัดอันดับปรับตัวลดลงกว่า 30% ขณะที่บจ.ที่ได้คะแนน CG ในระดับ 5 ปรับตัวลดลงเพียง 10% ซึ่งถือว่าเป็นบจ.ที่มีความปลอดภัยสูง อีกทั้งพบว่าบจ.ที่มีคะแนนอยู่ในระดับ 5 จะมีมากกว่า 50 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ใน SET50
สำหรับการวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์นักลงทุนโดยตรง จากผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในส่วนของหุ้น โดยผลที่ได้รับคือ การที่บจ.มีการจัดอันดับ Governance ที่ดีจะไม่ค่อยมีความเสี่ยง และ Governance จะทำหน้าที่ปกป้องราคาหุ้นในช่วงที่ตลาดผันผวน แต่อย่างไรก็ตามการวิจัยครั้งนี้ยังไม่ได้สำรวจถึงผลของการได้รับจัดอันดับของบจ.ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี จะช่วยให้ผลประกอบการปรับตัวดีขึ้นหรือไม่ ซึ่งต้องมีการวิจัยและพัฒนาต่อไปอีกทีหนึ่ง
นอกจากนี้ ได้เสนอแนะต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ให้ทำความเข้าใจต่อบจ.ว่าการให้คะแนน CG ในระดับสูงมีประโยชน์อย่างไร ซึ่งจะทำให้สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุน เพื่อจะช่วยยกระดับตลาดทุนไทย
"หุ้นที่ Governance ดี บางทีมันอาจจะได้รับความนิยมของนักลงทุนสถาบัน ซึ่งพวกนี้ก็มีส่วนช่วยให้ราคาหุ้นไม่ได้อ่อนไหวต่อภาวะตลาด เมื่อมีการถือครองหุ้นจำนวนมาก พอตลาดไม่ดีเขาก็อาจจะไม่ได้เทขายมา แต่กรณีที่บางตัวไม่ได้มีการบริหารจัดการที่ดี ก็อาจจะถือโดยนักลงรายย่อยอย่างเดียว ก็อาจจะลำบากหน่อย โดยหุ้นที่มี Governance ดีส่วนใหญ่จะอยู่ใน SET50 ที่เป็นบริษัทใหญ่พอสมควร"นายจิติพล กล่าว