“ตอนนี้ก็รอผลประชุม กพช.ในช่วงเดือนพฤศจิกายนก่อน แต่ก็มีสหกรณ์ทั่วประทเศที่เราและเขาต่างติดต่อกันมา เราก็คาดว่าในเดือนันวาคมนี้ถ้าผลออกมาแล้วก็จะเซ็นต์สัญญาทำโครงการ Solar Power Plant กับสหกรณ์การเกษตรไม่ต่ำกว่า 50 สหกรณ์ ซึ่งการพิจารณาแต่ละสหกรณืก็ขึ้นอยู่กับว่าที่ดินมีความพร้อมไหม และก็ควรอยู่ห่างจากสายส่งไม่เกิน 1 กิโลเมตร ถ้าถามทางเราเรามีความพร้อมอยู่แล้ว การติดตั้งก็ไม่นาน 1 เมกะวัตต์ก็ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์"นางปัทมา กล่าว
นอกจากนั้น บริษัทยังอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรต่างชาติ ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผ่นเซลล์และแผงเซลล์พลังงานแสงอาทิตย ทั้งจากญี่ปุ่น จีน และยุโรป ในการแสวงหาความร่วมมือในการผลิต เนื่องจากคาดว่าในประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นๆ ทั่วโลกจะมีความต้องการใช้แผงเซลล์พลังแสดงอาทิตย์มากขึ้น ซึ่งหากกำลังการผลิตของบริษัทไม่เพียงพอก็อาจจะจะนำวัตถุดิบจากพันธมิตรแทน
นางปัทมา กล่าวว่า บริษัทวางแผนขยายกำลังการผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์และแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มเป็น 200 เมกะวัตต์ในปีหน้า จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 70 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้บริษัทได้มีการเพิ่มในส่วนของแผงเซลล์แล้ว คาดว่าภายใน 3 เดือนน่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ จากนั้นในปีหน้าจะขยายกำลังผลิตแผ่นเซลล์ เพื่อรองรับโครงการก่อสร้างโซลาร์ฟาร์มที่ได้รับอนุมัติแล้วแต่ยังไม่ก่อสร้างอีกกว่า 1,000 เมกะวัตต์ และโครงการโซลาร์ฟาร์มของสหกรณ์อีก 800 เมกะวัตต์ ซึ่งยังไม่รวมกับการประมูลงานของหน่วยงานราชการ
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่ารายได้ในปีนี้จะใกล้เคียงกับปีก่อนที่มีรายได้ 1.38 พันล้านบาท เนื่องจาในปีนี้มียอดขายไม่ค่อยดีนัก แต่ยังดีที่มีรายได้จากธุรกิจรับเหมาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เข้ามาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในปี 58 บริษัทมั่นใจว่ารายได้จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากการรับเหมาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้กับผู้ประกอบการต่างๆประกอบกับงานในส่วนภาครัฐก็ยังทยอยเข้ามาเรื่อยๆ