ได้แก่ กองทุนเปิดเมย์แบงก์ ยูเอส อีทีเอฟ (Maybank US ETF: MUS) กองทุนเปิดเมย์แบง์ ยูโร อีทีเอฟ (Maybank EURO ETF: MEU) กองทุนเปิดเมย์แบงก์ เจแปน อีทีเอฟ (Maybank Japan ETF: MJP) และกองทุนเปิดเมย์แบงก์ อีเมอร์จิ้ง อีทีเอฟ (Maybank Emerging ETF: MEM) มูลค่าการระดมทุนกองทุนละ 1,000 ล้านบาท ราคาเสนอขายหน่วยลงทุนละ 10 บาท ระหว่างวันที่ 19 พ.ย.-4 ธ.ค.57
ทั้งนี้ การออกกองทุนอีทีเอฟ ต่างประเทศครั้งนี้ถือเป็นทางเลือกใหม่ของนักลงทุน เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนในประเทศที่ผันผวนขึ้นลงเฉลี่ยปีละ 20% และเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า ซึ่งการเสนอขายกองทุนอีทีเอฟ ครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนให้สินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ในปี 57 เติบโตตามเป้าหมายที่ 2,500 ล้านบาท
“ถือเป็นครั้งแรกที่เปิดขายกองทุนอีทีเอฟ ต่างประเทศพร้อมกัน 4 กองทุน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องประสานงานกับส่วนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมากพอสมควร แต่เมย์แบงก์ต้องการสร้างความแตกต่าง และเพิ่มโอกาสให้นักลงทุนไทยสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า พร้อมทั้งปลดข้อจำกัดการลงทุนในต่างประเทศแก่นักลงทุน เนื่องจากลักษณะกองทุนใช้เงินลงทุนจำนวนน้อย สามารถซื้อขายง่ายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ฯ และทราบราคาซื้อขายทันที นอกจากนี้ในมุมมองการลงทุนผมเห็นว่าผลตอบแทนคาดการณ์ของหุ้นโลกยังคงดูดี เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์อื่น ขณะที่สภาพคล่องทั้งโลกยังมีสูงและสินทรัพย์ที่น่าลงทุนมีไม่จำกัดเหมือนในประเทศ"นายตรีพลกล่าว
สำหรับรูปแบบการลงทุนนั้น กองทุน MUS จะเน้นลงทุนหุ้นพื้นฐานดี ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยผลตอบแทนจะสะท้อนจากความเคลื่อนไหวของดัชนี S&P500 กองทุน MEU จะลงทุนหุ้นของบริษัทชั้นนำกลุ่มประเทศยุโรป โดยผลตอบแทนจะสะท้อนจากความเคลื่อนไหวของดัชนี MSCI EMU กองทุน MJP จะเน้นลงทุนหุ้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผลตอบแทนจะสะท้อนจากความเคลื่อนไหวของดัชนี MSCI Japan และกองทุน MEM จะเน้นลงทุนหุ้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ในตลาดเกิดใหม่กว่า 800 หุ้น โดยผลตอบแทนจะสะท้อนจากความเคลื่อนไหวของดัชนี MSCI Emerging Markets
“จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของกองทุนอีทีเอฟต่างประเทศของเมย์แบงก์คือ ค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการกองทุนที่ต่ำกว่ากองทุนลักษณะอื่น และสภาพคล่องในการซื้อขายสูง ทำให้มั่นใจว่าการเสนอขายกองทุนอีทีเอฟต่างประเทศในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี"นายตรีพล กล่าว
นอกจากนี้ บลจ. เมย์แบงก์ ได้ลงนามความร่วมมือกับ 4 บริษัทชั้นนำในวงการลงทุน ได้แก่ บริษัท คอมเมิร์ช แบงก์ จำกัด (มหาชน) บริษัท มาร์ค อิท กรุ๊ป ลิมิเต็ท จำกัด (มหาชน) บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) และบล.ภัทร จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นพันธมิตรในการเสนอขายกองทุนอีทีเอฟ ต่างประเทศในครั้งนี้ โดย บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง และ บล.ภัทร จะเป็นพันธมิตรทางด้านผู้ร่วมค้าหลักทรัพย์ (Participant dealer) ส่วนคอมเมิร์ช แบงก์ และ มาร์ค อิท กรุ๊ป ลิมิเต็ท จะเป็นพันธมิตรด้าน การดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) และการให้ข้อมูลราคาตลาดระหว่างวัน (iNAV)
“ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเสนอขายกองทุนอีทีเอฟ ต่างประเทศ ของเมย์แบงก์ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น และหวังว่าความสำเร็จในครั้งนี้จะช่วยให้บริษัทอื่นๆ เห็นความสำคัญและเข้ามาร่วมด้วย เพราะสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ ETF ประสบความสำเร็จในระยะยาว คือ ความหลากหลายของผู้ลงทุนซึ่งควรจะมีทั้งนักลงทุนรายย่อย และนักลงทุนสถาบัน ที่จะทำให้เกิดความหลากหลายของมุมมองการลงทุนจึงจะนำไปสู่การปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้น" ดร.ตรีพลกล่าว
ทั้งนี้ บลจ.เมย์แบงก์ มองแนวโน้มการลงทุนในหุ้นยังเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด แม้จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น เนื่องจากราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่บรรยากาศการลงทุนในปัจจุบันเอื้อต่อการลงทุนในหุ้นที่สุด เพราะเม็ดเงินที่รัฐบาลต่างๆ อัดฉีดเข้ามาในระบบยังคงหมุนเวียนอยู่ สำหรับการลงทุนหุ้นต่างประเทศใน 4 ตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น และตลาดเกิดใหม่ ถือว่าน่าสนใจ
สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐ แนวโน้มยังดี หลังจากที่เศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐในปีหน้า คาดว่าจะเติบโตประมาณ 7-8% ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศยุโรป เริ่มฟื้นตัว ราคาหุ้นถูก สามารถเลือกซื้อได้ แม้ว่าเศรษฐกิจยังดูไม่ค่อยสดใส ดัชนีความเชื่อมั่นจะต่ำกว่าคาด แต่สิ่งเหล่านี้น่าที่จะเป็นแรงกระตุ้นให้ ECB หาวิธีเพิ่มปริมาณเงินในระบบให้มากขึ้นได้ ขณะที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนจะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะส่งออกและท่องเที่ยว
ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่นก็ค่อนข้างน่าสนใจเช่นกัน เนื่องจากกำลังมีการเพิ่มปริมาณเงินอย่างมาก และตลาดหุ้นก็น่าที่จะได้นับอานิสงค์ด้านบวกจากค่าเงินอ่อนด้วย ขณะที่ตลาดเกิดใหม่ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะหุ้นราคาถูกและหลายประเทศกำลังอยู่ระหว่างเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ซึ่งน่าจะเริ่มมีการกระตุ้นเศรษฐกิจในเร็ววัน และบางประเทศได้รับอานิสงค์จากราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง และคาดว่าการบริโภคในกลุ่มนี้น่าจะดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ น่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างชัดเจน
มิสเตอร์ ทอร์สเต็น ไฮร์ท กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายตลาดทุนและสินค้าโภคภัณฑ์ เอเชีย คอมเมิรซ์ แบงก์ กล่าวทิ้งท้ายถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า บมจ.คอมเมิรช์ แบงก์ มีความยินดีที่ได้รับเลือกจาก บลจ.เมย์แบงก์ ให้ทำหน้าที่ผู้ดูแลสภาพคล่องของกองทุน เมย์แบงก์ อีทีเอฟ ทั้ง 4 กอง หน้าที่ของเราคือในฐานะผู้ดูแลสภาพคล่องคือการนำสภาพคล่องมาสู่ตลาดและทำราคากองทุน อีทีเอฟ ให้เคลื่อนไหวตามมูลค่าหน่วยลงทุนอ้างอิง นอกจากนี้คอมเมิรช์ แบงก์ ให้บริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และ กองทุน อีทีเอฟทั้งนอกตลาดฯ (OTC) และในตลาดฯ (Listed) ระหว่างช่วงเวลาทำการของตลาดเอเชีย