ส่วนปัจจัยการเมืองในเดือนธ.ค.ปีนี้ดีกว่าธ.ค.ปีก่อน และคาดว่าจะมีร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมทั้งคาดว่าจะมีการเลือกตั้งต้นปี 59 ทำให้ภาพการเมืองมีความมั่นคง และสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนต่างประเทศ
แต่ไม่ว่าปัจจัยแวดล้อมเป็นอย่างไร ธุรกิจต้องต่อสู้ หรือ Alert ตลอดเวลา ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ต้องพยายามเข้าใจลูกค้าต้องการอะไร ลูกค้าอยากได้อะไร ลูกค้ายินดีจะจ่ายเท่าไร สิ่งเหล่านี้ต้องมีข้อมูลและสามารถประมวลผลและวิเคราะห์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
สำหรับธุรกิจโทรคมนาคม มองว่าปีหน้าจะเติบโตดีกว่าปีนี้ตามภาวะเศรษฐกิจ และในปี 58 คาดว่าจะมีการเปิดประมูลคลื่น 4G ประมาณกลางปีหน้า ซึ่งทางกลุ่มบริษัท ได้เตรียมเงินทุนพร้อมไว้แล้ว ขณะเดียวกันได้ศึกษาตลาดดิจิตอลทีวี แต่บริษัทจะไม่ได้เข้าเป็นผู้ผลิตคอนเท้นท์
ทั้งนี้เห็นว่าการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) เป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามที่แม้จะเปิดตลาดใหม่ได้กว้างขวางชึ้น แต่ก็จะพบกับคู่แข่งธุรกิจมากยิ่งขึ้น ดังนั้นก็ต้องพัฒนาทักษะกับบุคลากร
ด้านนางอาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ. ริชี่เพลซ 2002 (RICHY) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะยังเผชิญกับปัจจัยลบได้แก่ การเมืองที่ยังมีคลื่นใต้น้ำในระดับที่ต้องเฝ้าระวัง หนี้สินครัวเรือนของประชาชน เศรษฐกิจในยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่นและจีน ฟื้นตัวแต่ช้า และ การเมืองระหว่งประเทศ ระหว่างประเทศฝั่งตะวันตกและรัสเซียที่มความกดดันอาจทำให้การตัดสินใจแสดงอำนาจต่อรองกัน
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ โครงการสาธารณูปโภคภาครรัฐ รถไฟฟ้าสายต่างๆในกรุงเทพและปริมณฑล รถไฟทางคู่ การตัดถนนเชื่อมโยงเมืองระหว่างประเทศ เป็นสัญญาณเชิงบวกอย่างมาก ภาคอสังหาริมทรัพย์อยากเห็น GDP เติบโต 5% รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของการลงทุนภาคเอกชนและต่างชาติซึ่งได้ยื่นขอบีโอไอแล้วรวมทั้งอัตราดอกเบี้ยอยู่ในอัตราต่ำ
"เมื่อถ่วงน้ำหนักดูแล้วปัจจัยบวกมีมากกว่า ก็หวังว่าเศรษฐกิจผงกหัวขึ้น" นางอาภากล่าว
ส่วนนายธิติพงศ์ ตั้งพูนผลวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง (GEL) กล่าวว่า การเปิด AEC มองเป็นโอกาสของบริษัท ซึ่งบริษัทเตรียมเข้าไปดำเนินธุรกิจในพม่า ที่ยังต้องการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานต่อเนื่อง 5-20 ปี ได้แก่ ถนน อาคาร เป็นต้น