นอกจากนี้ จากการเจรจารีไฟแนนซ์หนี้ของน้ำงึม จำนวน 1.7 หมื่นล้านบาทจะช่วยลดต้นทุนการเงินให้บริษัท ซึ่งจะช่วยผลักดันผลประกอบการของบริษัทได้อีกทางหนึ่ง
"รายได้ปีหน้าเติบโต 5 ยังไม่มี upside เรื่อง solar และน้ำงึม ที่หากมีพายุเข้าก็จะสามารถปั่นไฟได้มากขึ้น" นางสาวสุภามาส กล่าว
กรรมการผู้จัดการ CKP กล่าวถึงโครงการลงทุนใหม่ของบริษัทว่า ได้เริ่มศึกษาการลงทุนโรงไฟฟ้าจากขยะและพลังงานทดแทน ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ(PDP ปี 2015) โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทางภาครัฐเร่งให้ดำเนินโครงการที่ค้างท่อ ซึ่งบริษัทได้เข้าเจรจากับพันธมิตรในหลายโครงการ ขณะที่เตรียมพื้นที่ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก SPP จำนวน 8 โรงแห่งละ 120 เมกะวัตต์
"หากได้ SOLAR มาก็จะรับรู้รายได้ได้เร็ว เพราะใช้เวลาสร้างก่อสร้าง 6-8 เดือน ทั้งนี้ บริษัทเตรียมลงทุน SOLAR ประมาณ 100 เมกะวัตต์"นางสาวสุภามาส กล่าว
ส่วนแผนโครงการพลังงานน้ำในพม่า บริษัทได้เข้าไปเจรจาแล้ว 2-3 โครงการ คาดว่าจะได้ความชัดเจนต้นปี 58 โดยจะจับมือกับพันธมิตรทั้งพันธมิตรท้องถิ่น และพันธมิตรจากญี่ปุ่น ขณะที่โครงการพลังงานน้ำน้ำบากในลาว ขนาดกำลังการผลิต 160 เมกะวัตต์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปต้นปี 58 เช่นกัน
นางสาวสุภามาส กล่าวอีกว่า ในปีหน้าจะมีการลงนามสัญญาเงินกู้โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 2 ในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน (BIG-2) กำลังการผลิต 120 เมกะวัตต์ วงเงิน 4 พันล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย และธนาคารกสิกรไทย กำหนดจ่ายไฟเชิงพาณิชย์(COD)ในปี 60 คาดว่าหากโรงไฟฟ้า BIG-2 จ่ายไฟฟ้าได้ก็จะส่งผลให้โรงไฟฟ้า BIG-1 มีต้นทุนลดลง
สำหรับกระแสข่าวที่บริษัทกำลังศึกษาออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์ซื้อหุ้นสามัญ(Warrant)จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิมในเดือน ม.ค.58 นั้น กรรมการผู้จัดการ CKP กล่าวปฏิเสธเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่าไม่ทราบที่มาของข่าวลือดังกล่าว