ทั้งนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย-พม่าเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (JHC)ในช่วงวันที่ 7-9 ม.ค.นี้
"การประชุมครั้งนี้ จะดูรายละเอียดที่จะให้ ITD เข้าไปดำเนินการพัฒนาเฟสแรก (initial phase) และรอการพิจารณาอนุมัติเพิ่มพื้นที่จาก 27 ตร.กม. เป็น 34 ตร.กม. หลังประชุมครั้งนี้คงมีข้อสรุป และคาดว่าจะเซ็นสัญญาสัมปทานภายในเดือนมกราคมนี้ ต้องรอผลประชุม JHC ก่อน"นายประวีร์ กล่าว
ทั้งนี้ การพัฒนาเฟสแรกของโครงการทวายจะได้รับสิทธิสัญญาสัมปทาน 75 ปี โดยจะให้ 50 ปีแรก และต่ออายุได้อีก 25 ปี โดยจะใช้เวลาพัฒนาโครงการ 8 ปี ITD ได้ร่วมกับ บมจ.สวนอุตสาหกรรมโรจนะ (ROJNA) ฝ่ายละ 50% เพื่อร่วมกันพัฒนานิคมอุตสาหกรรม สาธารณูปโภค ได้แก่ ถนน 2 เลนที่เริ่มจากชายแดนของไทยไปถึงโครงการ มีระยะทาง 136 กม. และ น้ำที่ใช้ในนิคมอุตสาหกรรมทวาย ส่วนการผลิตไฟฟ้า ITD ได้ร่วมมือกับ บมจ.ผลิตไฟฟ้า (EGCO)ที่ถือหุ้นใหญ่ ในการทำโรงไฟฟ้าขนาด 400 เมกะวัตตฺ์ โดยใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง
นายประวีร์ กล่าวว่า บริษัทได้เริ่มติดต่อลูกค้าเดิมที่เคยแสดงความสนใจเข้ามาลงทุน ที่มีทั้งนักลงทุนไทย นักลงทุนญี่ปุ่นที่ลงทุนในไทยอยู่แล้ว และนักลทุนต่างประเทศ โดยจะลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยางพารา เป็นต้น
นอกจากนี้ ITD คาดว่าจะมีสิทธิได้เข้าไปพัฒนาพื้นที่ในโครงการทวายเพิ่มเติม หลังจากเปิดเต็มทั้งโครงการที่ยังพื้นที่อยู่อีก 160 ตร.กม. โดยมีอุตสาหกรรมหลักๆ ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึก โรงเหล็ก โรงกลั่น เป็นต้น