"มองว่า การที่พรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งนำโดยนายชินโสะ อาเบะได้รับเสียงข้างมากและเมื่อรวมกับพรรคร่วมรัฐบาล KOMEITO แล้วทำให้คะแนนเสียงมากกว่า 2 ใน 3 ของสภาล่าง ซึ่งส่งผลดีต่อภาพรวมของญี่ปุ่นทั้งหมดในระยะถัดไป เนื่องจากรัฐบาลจะสามารถดำเนินนโยบายการแก้ไขเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องและสานต่อนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะนโยบาย “อาเบะโนมิกส์" ภายใต้ลูกศร 3 ดอก ทั้งในเรื่องนโยบายการเงินผ่านการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อกดดันให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ โดยเปรียบเทียบได้และการผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อเติบโตเป็นไปตามเป้าหมายที่ 2% / นโยบายการคลังผ่านการปรับลดอัตราภาษีรายได้นิติบุคคลลง 2.5% จากเดิมที่ประมาณ 36% โดยคาดว่าจะประกาศใช้ในเดือน เม.ย. 58 ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้จากการลดค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ในญี่ปุ่นได้ รวมทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการอนุมัติแผนฉุกเฉินในส่วนของมาตรการการคลังภายใต้วงเงิน 3.5 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ที่มุ่งเน้นกระตุ้นผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการแจกคูปองในรูปของเงินเพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่มีรายได้น้อย เป็นต้น ทำให้มองว่าการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ในเร็วๆ นี้และสนับสนุนให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับมาฟื้นตัวได้"นายวิน กล่าว
ขณะที่จุดสนใจและเป็นความคาดหวังของตลาดค่อนข้างมาก ได้แก่ ลูกศรดอกที่ 3 การสานต่อในเรื่องของการสร้างความเติบโตให้แก่ระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่น อาทิเช่น Free-Trade Area ในโครงการ Tran-Pacific Partnership การเพิ่มรายได้ให้แก่บริษัทญี่ปุ่นจากการลดต้นทุนการผลิตและต้นทุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นให้ลดลงและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้มีประสิทธิภาพในระยะยาวอย่างมีเสถียรภาพทั้งการเพิ่มบทบาทของแรงงานหญิง การลดความเข้มงวดของแรงงานต่างชาติเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการปฏิรูปกฎระเบียบต่างๆ ที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ซึ่งหากผลักดันสำเร็จแล้วนั้น คาดว่าจะทำให้เป็นการสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจ และเพิ่มความน่าสนใจของการลงทุนในบริษัทฯ ในญี่ปุ่นรวมทั้งจะสนับสนุนต่อการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นได้อย่างมีนัยสำคัญ
ในด้านตลาดหุ้นญี่ปุ่น นายวิน ให้มุมมองว่าจากการสานต่อและเร่งผลักดันนโยบายต่างๆ ดังกล่าวภายใต้การนำของนายชินโสะ อาเบะอีกวาระ ทำให้มีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นค่อนข้างมาก โดยปัจจัยหลักๆ ที่สนับสนุนหุ้นญี่ปุ่น คือ การผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม (QE) ในการอัดฉีดเงินเข้าระบบปีละ 80 ล้านล้านเยนไปเรื่อยๆ จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะได้ตามเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงจำนวนมาก ประกอบกับแนวโน้มของนักลงทุนทั้งสถาบันและรายย่อยที่เข้ามาเพิ่มเติมจากการสนับสนุนของภาครัฐทั้งจากกองทุน GPIF และมาตรการลดภาษีกำไรผู้ลงทุนรายย่อย และมูลค่าหุ้นยังต่ำและมีโอกาสเติบโตได้ต่อจากการสนับสนุนให้ต้นทุนการผลิตปรับลดลงและผลักดันให้รายได้บริษัทฯ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นจากนโยบายการคลังและการปฏิรูปเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างซึ่งจะทำให้ระดับราคาหุ้นต่อกำไร (PE) มีแนวโน้มปรับลดลงจากปัจจุบันและจะผลักดันให้ผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ปรับขึ้นตาม รวมทั้งทำให้การลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะสามารถดึงดูดความน่าสนใจของนักลงทุนได้ โดยผมมองว่าดัชนี NIKKEI225 มีโอกาสปรับตัวขึ้นแตะระดับ 19,250 จุดได้ในกลางปี 2015 จากสิ้นปี 2014 ที่ระดับ 17,702 จุด
แต่อย่างไรก็ดี แม้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะมี Upside gain แต่แนวโน้มของตลาดหุ้นน่าจะเป็นไปอย่างผันผวนตามข่าวและความเคลื่อนไหวของนโยบายต่างๆ ดังนั้นผมจึงแนะนำว่าการลงทุนระยะสั้นควรลงทุนตามจังหวะการปรับตัวของ NIKKIE225 Index เพื่อสร้างผลตอบแทนในช่วงตลาดแกว่งตัวได้