ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทย ยังได้เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนต่อเนื่องให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนกับกองทุนตราสารหนี้แบบที่มีกำหนดอายุโครงการ (Fixed Term Fund) ของ บลจ.กสิกรไทย เมื่อกองทุนครบกำหนดอายุโครงการ บริษัทจัดการจะนำเงินค่าขายคืนอัตโนมัติไปซื้อหน่วยลงทุนที่ผู้ลงทุนเลือกได้กองทุนใดกองทุนหนึ่งใน 3 กองทุน คือ กองทุนเปิดเค ตลาดเงิน (K-MONEY) กองทุนเปิดเค ตราสารรัฐระยะสั้น (K-TREASURY) หรือกองทุนเปิดเค เอ็มพลัส (K-MPLUS) ซึ่งอยู่ในกลุ่มกองทุนรวมตราสารหนี้ ของบลจ.กสิกรไทย เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
สำหรับตราสารหนี้ที่กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ต่างประเทศ 3 เดือน H (KFF3MH) จะเข้าไปลงทุนในเบื้องต้นประกอบด้วยตราสารหนี้ Standard Bank of South Africa, ประเทศแอฟริกาใต้, ตราสารหนี้ Bank of East Asia Ltd., สาขาฮ่องกง, ตราสารหนี้ Agricultural Bank of China, สาขาฮ่องกง, เงินฝาก Bank of China, สาขามาเก๊า และเงินฝาก ICBC (Asia) Ltd., ประเทศฮ่องกง โดยผู้ลงทุนสามารถลงทุนด้วยเงินขั้นต่ำเพียง 5,000 บาท ด้านกองทุนเปิดเค เอ็นแฮนซท์ ตราสารหนี้ต่างประเทศ 3 เดือน S (KEFF3MS)จะเข้าไปลงทุนในเบื้องต้นประกอบด้วยเงินฝาก Akbank T.A.S., ประเทศตุรกี, เงินฝาก Bank of China, สาขามาเก๊า, ตราสารหนี้ Yapi Kredi Bankasi A.S., ประเทศตุรกี, ตราสารหนี้ Banco BTG Pactual S.A., ประเทศบราซิล และตราสารหนี้ Agricultural Bank of China, สาขาฮ่องกง
กองทุนเปิดเค เอ็นแฮนซท์ ตราสารหนี้ต่างประเทศ 6 เดือน AU (KEFF6MAU) จะเข้าไปลงทุนในเบื้องต้นประกอบด้วยเงินฝาก Akbank T.A.S., ประเทศตุรกี, เงินฝาก Bank of China, สาขามาเก๊า, ตราสารหนี้ Yapi Kredi Bankasi A.S., ประเทศตุรกี, ตราสารหนี้ Banco BTG Pactual S.A., ประเทศบราซิล และตราสารหนี้ Agricultural Bank of China, สาขาฮ่องกง โดยกองทุนดังกล่าวมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน และเป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มีสินทรัพย์ในการลงทุนสูงและสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยผู้ลงทุนต้องลงทุนด้วยเงินขั้นต่ำ 1,000,000 บาท
สำหรับมุมมองด้านเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงนี้มองว่า ภาวะตลาดหุ้นทั่วโลกยังค่อนข้างผันผวน จึงต้องติดตามดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเซียในช่วงสัปดาห์ก่อนดัชนีโดยรวมของตลาดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะตลาดหุ้นญี่ปุ่น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัจจัยเสริมจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงแนวโน้มการลดภาษีนิติบุคคลซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น
ในด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็มีแนวโน้มที่ค่อนข้างดีเช่นกัน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2557 ที่ผ่านมา บวกกับปัจจัยเรื่องตัวเลขการว่างงานที่มีจำนวนลดลง จึงสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน ในขณะที่ภาพรวมของเศรษฐกิจยุโรปยังมีปัจจัยลบกดดันในหลายๆ ด้าน อาทิ การที่ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของรัสเซียลงสู่ระดับ BBB- จาก BBB รวมไปถึงเรื่องที่มีกระแสข่าวว่าธนาคารกลางยุโรปออกมาระบุว่าขนาด QE จะมีประมาณ 5.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนักลงทุนมองว่าเป็นปริมาณที่น้อยเกินไปต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในยุโรป ดังนั้นจึงมีโอกาสที่นักลงทุนจะชะลอการลงทุนจนกว่าจะได้มติที่แน่นอนจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 22 มกราคมนี้