ขณะนี้กระบวนการอยู่ระหว่างรอนำเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังจากที่มีการปรับปรุงโครงสร้างทางเทคนิคแล้ว โดยคาดว่าจะเข้าที่ประชุม ครม.ภายในเดือน ม.ค.นี้ หากได้รับอนุมัติก็สามารถยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล(ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทันที และถ้าทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนก็น่าจะเสนอขายหน่วยลงทุนได้ทันภายในไตรมาส 1/58
"ในส่วนของขั้นตอนก.ล.ต.ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรแล้วเพราะได้มีการหารือกับก.ล.ต.มาตลอด การอนุมัติของก.ล.ต.ก็คาดว่าจะอยู่ในกรอบเวลา"นางชวินดา กล่าว
กองทุนดังกล่าวมีสินทรัพย์สำคัญ คือโรงไฟฟ้าพระนครเหนือของ กฟผ.มูลค่า 20,000 ล้านบาท โดยจะใช้รายได้หรือกระแสเงินสดในอนาคตเป็นทรัพย์สินในการระดมทุน เบื้องต้นคาดจะจัดสรรหน่วยลงทุนขายให้กับกองทุนในประเทศและรายย่อยราว 50% ทั้งนี้ หลังจากได้รับอนุมัติจาก ก.ล.ต.แล้วจะมีการจัดโรดโชว์ในประเทศเพื่อให้ข้อมูลกับนักลงทุน
ทั้งนี้ หากกองทุน Infrastructure Fund ของ กฟผ.สามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ก็จะเป็นต้นแบบรัฐวิสาหกิจและภาครัฐที่ก็จะมีการออกกองทุนอื่นๆเพื่อระดมทุนตามมาช่วยลดภาระของรัฐบาล ถึงแม้ต้นทุนทางการเงินจะสูงกว่าการระดมทุนรูปแบบเดิมๆ เช่น การกู้เพราะรัฐค้ำประกัน
"กองทุนนี้จะจุดประกายที่ไม่อยากให้รัฐเป็นผู้อุ้มรัฐวิสาหกิจ อยากให้รัฐวิสาหกิจช่วยเหลือตัวเอง ซึ่ง Infrastructure Fund ของ กฟผ.เป็นสินทรัพย์ที่รายย่อยและสถาบันในประเทศรอคอย เชื่อว่าจะได้รับความสนใจเพราะเงินที่จะเข้ามาซื้อมีเยอะ"นางชวินดา กล่าว
อนึ่ง การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวมีธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน