โดยมองประเทศเวียดนามมีการเติบโตที่ดี เห็นได้จากการเข้ามาลงทุนของประเทศเกาหลี และญี่ปุ่นที่ให้การสนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภค เพื่อรองรับการขยายตัวในอีก 10 ปีข้างหน้า รวมถึงมองว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) น่าจะมีการขายตัวได้ใกล้เคียงกับประเทศไทยได้ ประกอบกับเวียดนามไม่มีปัญหาในเรื่องของการเมืองและสังคม ทำให้เกิดความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติอย่างมาก
ทั้งนี้ AMATA มีความสนใจกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และ กลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) โดยมองการเข้าไปลงทุนจะต้องมีการเดินทางที่อำนวยความสะดวก เช่น มีสนามบินที่จะสามารถเดินทางไปกลับได้,เป็นประเทศที่ติดทะเล,เป็นประเทศที่ติดกับจีน,ค่าแรงต้องถูก และ ประเทศที่เป็นเขตการค้าเสรี FTA เพื่อสามารถขนส่งไปยังจีนได้
"เราก็มีความสนใจในประเทศพม่า ลาว เขมร เวียดนาม หรือกลุ่ม GMS ทั้งหมด เนื่องด้วยพม่าติดกับมหาสมุทรอินเดีย ประชากรก็มีอยู่ราว 60 ล้านคน เป็นคนขยันและเก่ง เราจึงมองโอกาสขยายธุรกิจเข้าไปเพื่อรองการการเปิดประชาคมอาเซียน และลดปัญหาด้านแรงงาน อีกทั้งในอนาคตเราก็จะเปลี่ยนทิศทางไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น จากที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจดีกว่าไทย"นายวิกรม กล่าว
นายวิกรม ยังมองว่าเป็นโอกาสของบริษัทจดทะเบียนไทยที่มีโอกาสขยายการลงทุนไปในยังภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทที่มีขนาดใหญ่และขนาดกลาง ที่ถือว่ามีแหล่งเงินทุนสามารถเข้าไปลงทุนได้
สำหรับเป้าหมายของ AMATA ในประเทศไทย ขณะนี้มีอัตราการเติบโตไม่มาก ซึ่งจากนี้บริษัทฯ จะไปเน้นด้านการค้นคว้าและวิจัย เพิ่มมูลค่าในโรงงานที่มีอยู่ปัจจุบัน เพื่อผลักดันสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 50:50% โดยปัจจุบันบริษัทฯมีโรงไฟฟ้าอยู่ 10 แห่ง ขนาด 1,400 เมกกะวัตต์ และมีโรงงานรวม 1,300 แห่ง
"ในอนาคตจะไม่มีแต่การขายที่ดินเหมือนแต่ก่อน ซึ่งจากนี้ไปเราจะทำให้ AMATA เป็นนิคมไฮเทค ที่จะมีทั้งสาธารณูปโภค พลังงานน้ำ ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าในนิคมของเราให้มากที่สุด ขณะที่ต่างประเทศ อนาคตเราก็มีแผนไปสร้างนิคมที่ประเทศพม่าแต่คงไม่ใหญ่มาก เป็นการร่วมทุนกับพาร์ทเนอร์ทั้งจากในพม่าเองและต่างประเทศ"นายวิกรม กล่าว