"การเปิดโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลแห่งที่ 2 โดยจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่กฟภ. จำนวน 8 เมกะวัตต์ในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการดำเนินธุรกิจพลังงานทดแทนที่มาจากการต่อยอดจากธุรกิจผลิตน้ำตาลทราย เพื่อสร้างผลการดำเนินงานในส่วนของรายได้และกำไรในปี 58 ที่ดีได้"นายอนันต์ กล่าว
นายอนันต์ กล่าวว่า การเปิดโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลแห่งที่ 2 ซึ่งใช้ชานอ้อยซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลทรายมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต เมื่อรวมกำลังการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแห่งแรก หรือ บุรีรัมย์พลังงาน ทำให้มีกำลังการผลิตรวมเกือบ 20 เมกะวัตต์ ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการเปลี่ยนนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากนโยบายภาครัฐจาก adder เป็น Feed-in-Tariff (FiT) ที่มีผลให้ราคาจำหน่ายไฟฟ้าปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมหน่วยละ 3.60 บาท เป็น 4.53 บาท/หน่วย หรือเพิ่มขึ้น 0.93 บาท/หน่วย
ทั้งนี้ นโยบายระบบการรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวส่งผลบวกต่อบริษัท ทำให้รายได้จากธุรกิจพลังงานทดแทนในปีนี้เพิ่มเป็น 450 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจโรงไฟฟ้าแห่งที่ 2 ประมาณ 250 ล้านบาทและโรงไฟฟ้าแห่งแรกอีก 200 ล้านบาท และสัดส่วนรายได้เพิ่มเป็น 10% จากเดิมที่มี 5% ขณะที่สัดส่วนกำไรเพิ่มเป็นกว่า 30% จากเดิมที่มีสัดส่วนกำไรอยู่ที่ 20% อีกด้วย
ขณะเดียวกัน บริษัทยังได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท บุรีรัมย์ เพาเวอร์พลัส จำกัด ต่อกระทรวงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท เพื่อรองรับแผนงานขยายธุรกิจพลังงานทดแทนของ BRR ที่มีแนวทางขยายธุรกิจเพิ่มเติม