ส่วนระดับความผันผวนของตลาดหุ้นไทยในระยะ 12 เดือนข้างหน้าจะอยู่ที่ระดับ 12% (ความผันผวนในกรอบ 200 จุดต่อรอบ) ความผันผวนของตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปี 57 เนื่องจาก ความไม่แน่นอนของปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศ รวมถึงผลกระทบของค่าเงินอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
ปัจจัยทางเศรษฐกิจ 5 ประการที่ส่งผลต่อภาพการลงทุน ได้แก่ 1.เศรษฐกิจกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วฟื้นตัวด้วยความเร็วที่ไม่เท่ากัน สหรัฐฯมีแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี เศรษฐกิจจีนเติบโตในอัตราชะลอตัว และกลุ่มประเทศยุโรปยังอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเงินฝืด 2.ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) คาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรก ในช่วงการประชุมเดือน ก.ย. 58 (อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของสหรัฐฯเพิ่มขึ้นส่งผลต่อความผันผวนตลาดหุ้นไทย)
3.การประกาศเศรษฐกิจยุโรปจะเป็นลบต่อภาวะการลงทุน แต่การอัดฉีด QE ของ ECB จะเป็นปัจจัยผลักดันตลาดหุ้นทั่วโลก 4.ราคาน้ำมันจะยังทรงตัวในระดับต่ำในครึ่งปีแรก ตามภาวะ Supply ส่วนเกิน แต่จับตา Tension ในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันจะเป็นปัจจัย Rebound ในครึ่งปีหลัง (Range ราคาน้ำมันดิบจะอยู่ระหว่าง US$30-US$80/bbl ไม่ต่ำจน US ลดการผลิต แต่ไม่สูงกว่า Breakeven ของประเทศที่ประสิทธิภาพการกลั่นต่ำ) และ 5.เศรษฐกิจไทยปี 58 มีแนวโน้มที่จะปรับลด คาดว่าอัตราการขยายตัวจะกลับมาอยู่ที่ระดับ 3.5% โดยครึ่งปีแรก ต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงเป็นเพียงปัจจัยบวกเดียวต่อการขยายตัว
อย่างไรก็ตาม สำหรับผลตอบแทนรายอุตสาหกรรมของตลาดหุ้นไทยปี 57 อุตสาหกรรมที่ให้ผลตอบแทนสูงได้แก่ กลุ่มธุรกิจการแพทย์ (+51%), กลุ่มขนส่ง (+37%) และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (+32%) ในขณะที่กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีให้อัตราผลตอบแทนที่ติดลบ
ส่วนอุตสาหกรรม 3 กลุ่มที่แนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโตโดดเด่นปี 58 ได้แก่ กลุ่มขนส่ง (สายการบิน) (+300%) กลุ่มบันเทิงและสื่อสิ่งพิมพ์ (Digital TV) (+77%) และกลุ่มอสังหาฯ (+31%) Sector Rating อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มในปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุน ได้แก่ กลุ่มสื่อสาร กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มอสังหาฯ ในขณะที่แนะนำให้ลงทุนต่ำกว่าตลาดในกลุ่ม พลังงาน, ปิโตรเคมี, และยานยนต์