ทั้งนี้ AUM ในปีนี้ แบ่งเป็นมาจากการออกกองทุนที่นำเสนอขายในมาเลเซีย จำนวน 2,000 ล้านบาท โดยมีธนาคารเมย์แบงก์ในมาเลเซียเป็นตัวแทนขาย ซึ่งคาดหวังอัตราผลตอบแทนสูงกว่าดัชนี CPI ของมาเลเซีย (2.5-2.7%)บวก 5% ซึ่งเตรียมเสนอขายในเดือน มิ.ย.นี้ และอีกส่วนมาจากกองทุนส่วนบุคคลที่คาดว่าปีนี้จะมีสินทรัพย์ราว 1,500 ล้านบาทโตจากปีก่อนที่มี 400 ล้านบาท และที่เหลือ จำนวน 2,500 ล้านบาทจะมาจากการออกกองทุนใหม่
สำหรับแผนการออกกองทุนใหม่ในปีนี้ ได้แก่ กองทุนที่ลงทุนกองทุนในต่างประเทศ ซึ่งเป็นกองทุนใหญ่ที่สุดในอังกฤษ คาดว่าจะเสนอขายได้ในเดือน พ.ค.นี้ โดยคาดว่าเสนอขายครั้งแรก (IPO) จะได้ 300 ล้านบาท จากมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้กองทุนที่จะเข้าลงทุน เป็นกองทุนที่กระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ และกระจายความเสี่ยง โดยให้ผลตอบแทนที่สูง แต่มีความเสี่ยงต่ำ โดยในช่วง 8 ปีหรือตั้งแต่ก่อตั้งกองทุน มีผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 7.7%
กองทุนหุ้นไทย ที่มีแผนเปิดเสนอขายในเดือนมิ.ย.นี้โดยเน้นการลงทุนหุ้นที่อัตราเติบโตสูงในระยะยาว และราคาไม่แพง โดยการออกกองทุนนี้เพื่อเป็นสถิติในการบริหาร (Track Record) ในช่วง 2-3 ปี ซึ่งจะมีฐานลูกค้าจากบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย) คาดจะเสนอขายในเดือนมิ.ย.นี้
กองทุนอีทีเอฟ ที่จะเน้นการลงทุนในตลาดต่างประเทศที่เน้นการลงทุนระยะยาว คาดว่าจะเสนอขายในไตรมาส 3/58 โดยปีที่แล้ว บริษัทได้ออกกองทุนอีทีเอฟ 4 กองทุนซึ้งปัจจุบันพบว่า กองทุน MJP(ญี่ปุ่น) ให้ผลตอบแทน 5.44% (ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน 15 ธ.ค. 57- 20 ก.พ. 58) และกองทุน MEM (ตลาดเกิดใหม่) มีอัตราผลตอบแทน 1.72% ในช่วงเวลาเดียวกัน ขณะที่ผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทยในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ที่ 0.35%
กองทุนลงทุนต่างประเทศที่ใช้การบริหาร Multi Management โดยลงทุนผ่านกองทุนรวมในแต่ละประเทศ คาดว่าจะเสนอขายได้ในไตรมาส 3/58 และ ในเดือน ต.ค.58 จะนำเปิดขายกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ ที่เป็นกองแรก โดยเน้นการจัดสรรการลงทุน (Asset Allocation) และเน้นหุ้นตลาดโลกมากกว่า ส่วนกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) ยังรอดูความชัดเจนภาครัฐก่อนว่าจะมีการต่ออายุการนำไปลดหย่อนภาษีหรือไม่ หากได้ความชัดเจนจะดำเนินการทันที
ส่วนภาพรวมการลงทุนในปี 58 นายตรีพล มองตลาดหุ้นไทยว่าน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกไม่มาก เนื่องจากตลาดรอความชัดเจนการใข้จ่ายของภาครัฐ และราคาค่อนข้างสูงแล้ว ขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศปีนี้ยังมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากสภาพคล่องในระบบยังมีอยู่สูงและยังได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ และมองว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังน่าสนใจ เพราะได้รับประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของอาเบะ แต่ความผันผวนของค่าเงินยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับการลงทุนในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งหุ้นในตลาดเกิดใหม่ สหรัฐ ยุโรป และไทย ตามลำดับ ส่วนการลงทุนตราสารหนี้น่าจะมีอัตราผลตอบแทนที่ดีขึ้นหลังไตรมาส 3 ของปีนี้
"ผมมองภาวะตลาดไปถึง 1,650 น่ากลัว เพราะการใช้จ่ายของรัฐบาลไม่ชัดเจน และ P/E ก็สูง ซึ่งถ้าสูงต้องมองว่ามีศักยภาพอีกมาก ซึ่งเริ่มจากการจับจ่ายใช้สอยของรัฐบาล ...ถ้าไปต่อได้อีก ก็เป็นความกังวลว่าแพงมากๆ เพราะดูที่ลงทุนประเทศอื่นดูดีกว่า " นายตรีพล กล่าว