อย่างไรก็ตาม การเปิดสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมรอบที่ 21 จะกำหนดการเจรจารูปแบบของระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC)ไว้ที่ 3 แปลงเดิมตามที่เคยประกาศก่อนหน้านี้
"นายกรัฐมนตรียืนยันว่า 3 เดือนผลกระทบน้อย เราต้องสำรวจดูว่าปริมาณปิโตรเลียมมีมากน้อยแค่ไหน รู้แต่ว่ามีสัดส่วนน้อยลงทุกวัน... 3 เดือนเราจะรู้กติกาใหม่จะมีการเพิ่ม option มากขึ้นในส่วนของ PSC ต้องมีกติการองรับใหม่ หลังจากนั้นจะประกาศใหม่ ส่วนของ PSC คงไม่มากกว่า 3 แปลงเดิม"นายณรงค์ชัย กล่าว
รมว.พลังงาน กล่าวว่า หลังจากนี้ก็จะยกเลิกประกาศเชิญชวนฉบับเดิมที่ประกาศออกมาก่อนหน้า และมีเพียงรายเดียวที่ยื่นข้อเสนอเข้ามาแล้ว ซึ่งคงต้องมีการคืนเอกสารกลับไป และในวันพฤหัสนี้ (26 ก.พ.) ก็จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อหาแนวทางแก้ไขข้อกฎหมายตามพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องต่อไป
แม้ว่ากรยกเลิกประกาศเชิญชวนครั้งนี้ก็อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือบ้าง แต่ก็ต้องทำกติกาใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ส่วนหากการเปิดสัมปทานและมีการสำรวจด้วยความรวดเร็วก็จะได้วางแผนการบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม แต่ในเบื้องต้นภาครัฐก็ได้เตรียมความพร้อมด้วยการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่คลังของบมจ.ปตท(PTT) รองรับได้ 5 ล้านตัน/ปี และอยู่ระหว่างก่อสร้างคลังแห่งที่ 2 รองรับ LNG ได้รวม 10 ล้านตัน/ปี คิดเป็นปริมาณก๊าซธรรมชาติได้เพียง 1,400 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วันเท่านั้น ขณะที่ปริมาณการใช้ในประเทศมีมากถึง 5 พันล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ซึ่งการจัดหาพลังงานได้เร็วที่สุดคือการซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน เป็นต้น
ขณะที่การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมกว่าจะมีการสำรวจและการสร้างแท่นผลิตต้องใช้เวลา 3-5 ปีมีการลงทุนในระดับหมื่นล้านบาท