เนื่องจากปัจจุบัน มีการสำรวจพบว่ากว่า 40% ของประชากรในประเทศไทย ที่ยังต้องเผชิญความยากลำบากในการเข้าถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐาน เนื่องจากคนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง จึงทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านั้นได้อย่างสะดวกสบาย ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาอัตราการเข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย จะเห็นว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับเกือบ 145% และมีคนไทยใช้โทรศัพท์มือถือจำนวนรวมกันกว่า 97 ล้านเครื่องแล้ว (ข้อมูลจาก กสทช.ไตรมาสที่ 4 ปี 2557 http://www2.nbtc.go.th/TTID/ ) ดีแทคจึงเล็งเห็นโอกาสที่จะใช้เครือข่ายสื่อสารช่วยเติมเต็มช่องว่างดังกล่าวเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยจำนวนมากทั่วประเทศ
"นี่จึงเป็นที่มาของ"แจ๋ว" บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ด้วยการตั้งชื่อบริการที่ฟังแล้วติดหู จดจำง่าย ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง จะเห็นได้จากโลโก้แจ๋วที่ใช้สีเหลืองและฟ้า ที่สดใส สะดุดตา สื่อถึงความเป็นบริการที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นลูกค้าดีแทค ทั้งยังตั้งชื่อบริการว่า “แจ๋ว" นอกจากจะมีความหมายที่แปลว่ายอดเยี่ยมแล้ว เรายังอยากให้บริการนี้เป็นเสมือนผู้ช่วยทางการเงินส่วนตัวของลูกค้าอีกด้วย อีกทั้งได้ใช้หญิงลี ศรีจุมพล นักร้องลูกทุ่งหญิงชื่อดังของเมืองไทยเป็นพรีเซ็นเตอร์เพื่อให้บริการนี้เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น"
นายปานเทพย์ กล่าวว่า บริการแจ๋วมีกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มคนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร อาศัยอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง กลุ่มลูกค้าที่ทำงานในโรงงาน และกลุ่มลูกค้าประเทศเพื่อนบ้าน ที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย สิ่งสำคัญในการทำให้ “แจ๋ว" เป็นบริการที่แจ๋วสมชื่อ คือ การเป็นบริการที่เข้าใจความต้องการของกลุ่มลูกค้า เราอยากให้ “แจ๋ว" เข้าไปถึงกลุ่มเป้า หมายให้มากที่สุด เราจึงต้องนำบริการเข้าไปถึงที่ที่ลูกค้าอาศัยอยู่จริง ๆ ด้วยการสรรหาตัวแทนแจ๋ว ที่กลุ่มลูกค้าที่มีความคุ้นเคย และไว้วางใจอยู่แล้ว นั่นคือร้านค้าในชุมชน หรือหมู่บ้านต่าง ๆ ซึ่งจะมีจำนวนมากกว่า 7,000 แห่ง ครอบคลุมทุกตำบลทั่วไทยในสิ้นเดือนมีนาคมนี้
“ดีแทคตั้งเป้าหมายว่า แจ๋วจะเป็นผู้นำในเรื่องของบริการทางการเงินของลูกค้ากลุ่มนี้ใน 3 ปีข้างหน้า โดยไม่เพียงแต่จะขยายเครือข่ายตัวแทนแจ๋วให้ครอบคลุมมากขึ้น เรายังจะสร้างสรรค์และพัฒนารูปแบบบริการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์และทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกต่อไป" นายปานเทพย์ กล่าว