ทั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพเพียงแห่งเดียวที่ได้รับอนุญาตให้เตรียมการจัดตั้งสาขาธนาคารในเมียนมาร์ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการทำธุรกิจในต่างประเทศ เนื่องจากเมียนมาร์เป็นประเทศใหญ่ มีประชากรกว่า 60 ล้านคน หลังจากในปี 57 ที่ผ่านมาธนาคารได้เปิดสาขาใหม่ที่เมืองฉงชิ่ง ในจีน และสาขาในพนมเปญ พร้อมรองรับความต้องการลูกค้าที่จะลงทุนในกัมพูชาเพื่อขยายฐานการผลิต
"ธนาคารหวังเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงอาเซียนจะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ธนาคารกรุงเทพจะเป็นเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ AEC ในการก้าวออกไปในการทำธุรกิจในภูมิภาค"นายชาติศิริ กล่าว
นายชาติศิริ กล่าวว่า ธนาคารมีความพร้อมให้การสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีที่พร้อมลงทุนในกลุ่มประเทศ AEC โดยที่ผ่านมามีธุรกิจไทยที่ออกไปลงทุนบ้างแล้ว ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม อุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง และร้านอาหาร เป็นต้น โดยธนาคารมองอาเซียนจะเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิตเดียวที่กำลังจะเกิดขึ้นไปพร้อมๆ กับการที่ภูมิภาคเอเชียก้าวขึ้นเป้นผู้นำและเป็นศูนย์กลางของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก
ปัจจุบัน ธนาคารกรุงเทพ มีสาขาครอบคลุมเกือบทุกประเทศในอาเซียน จึงเป็นโอกาสสำคัญในการเป็นธนาคารแห่งเดียวในไทยที่พร้อมที่สุดสำหรับการทำธุรกิจในเอเชีย และการเกิดขึ้นของ AEC พร้อมจะช่วยลูกค้าทุกระดับ ตลอดจนซัพพลายเชน ให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากโอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้ลูกค้าเจริญเติบโตพร้อมรับการแข่งขัน และสอดคล้องกับการที่รัฐเร่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ได้แก่ รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้า และถนนทางหลวงที่จะเชื่อมกันเป็นเส้นทางคมนาคมและขนส่งใหม่ โดยเชื่อมต่อจากฝั่งตะวันออกไปสู่ตะวันตก (East- West Corridor) และเชื่อมต่อจากทางหนือสู่ลงใต้ (North-South Corridor) ซึ่งเครือข่ายเหล่านี้จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงภูมิภาคอย่างครบวงจร และนำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆในเชิงธุรกิจ