นอกจากนั้น กฟผ.ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาเลื่อนการรับไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ.และเอกชนเข้าสู่ระบบ หลังจากประเมินเบื้องต้นว่าในปี 62-63 กำลังการผลิตไฟฟ้าที่เข้าสู่ระบบจะมีเป็นจำนวนมาก ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศยังไม่สูง ประกอบกับ ทางการมีแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าและมีการพึ่งพาโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มเข้ามา ซึ่งจะทำให้ปรbมาณสำรองไฟฟ้าของทั้งระบบสูงถึงกวา 40% จากระดับปกติที่ควรอยู่ในระดับ 15%
นายสุนชัย กล่าวว่า เบื้องต้น กฟผ.คาดว่าจะมีการเลื่อนการสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าวังน้อยเครื่องที่ 1-2 กำลังการผลิตรวม 1,200 เมกะวัตต์ และจะเจรจากับโรงไฟฟ้าเอกชนทั้ง SPP และ IPP โดยในส่วนของ IPP ได้เจรจากับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาดกำลังผลิต 540 เมกะวัตต์ ของบริษัท เนชั่นแนล เพาวเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นพีเอส ที่จ.ฉะเชิงเทรา จะเลื่อนออกไป 4 ปี จากกำหนดเดิมที่จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 59 และโรงไฟฟ้าของกลุ่มกัลฟ์ เจพี ขนาดกำลังการผลิต 5,000 เมกะวัตต์ ที่มีกำหนดจะจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบในเดือน ต.ค.61 ก็จะเลื่อนออกไปด่วย
นายสินชัย กล่าวว่า กฟผ.ประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(peak)ในปีนี้อยู่ที่ 27,600 เมกะวัตต์คาดว่าจะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากภาวะอากาศร้อนมาเร็ว โดยจะเติบโตไม่เกิน 3% จากปีก่อน