นอกจากนี้ทางฝั่งผู้ประกอบการและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็จะได้รับผลกระทบกับความไม่ชัดเจนดังกล่าวด้วย โดยเฉพาะเรื่องยอดขายที่อาจจะได้รับผลกระทบบ้างในช่วงภาวะสูญญากาศ และหากมีเกณฑ์ที่แน่นอนออกมาแล้วทางผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์อาจจะต้องมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จากปกติที่ต้นทุนการทำที่อยู่อาศัยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกปี อีกทั้งยังต้องมีการทำความเข้าใจให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับเกณฑ์ภาษีที่ออกมา
"ตอนนี้เกณฑ์ภาษีที่ด้นต่างๆก็ยังไม่ชัดเจน มองว่าในช่วงนี้จะเกิดภาวะสูญญากาศในภาคอสังหาฯ คนที่ต้องการซื่อก็จะลังเลว่าจะซื่อดีไหม เพราะมันมีผลทางจิตวิทยาที่คนซื้อบ้านไปแล้วต้องมีค่าไช้จ่ายเพิ่มอีก จากเมื่อก่อนไม่เคยเสีย ฝั่งผู้ประกอบการก็จะได้รับผลกระทบยอดขายบ้าง เพราะการต่ดสินใจซื้อชะลอ และหลังมีความชัดเจนก็จะกระทบต้นทุนอีกด้วย อีกทั้งทางฝั่งผู้ประกอบการยังจะต้องมาอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจในเกณฑ์ภาษีที่ออกมา ก็อยากให้ภาครัฐมีความชัดเจนโดยเร็วที่สุด เพราะตอนนี้ก็อัพเดทข่าวตลอด คนก็กังวลกัน ถ้าชัดเจนแล้วพวกเราก็จะได้เตรียมเพื่ออธิบายให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจ"นางสาวเกษรา กล่าว
ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เมื่อวานนี้ (11 มี.ค. 58) คณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (กนง.) ได้มีการรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.75% นั้นมองว่าจะเป็นปัจจัยบวกส่งเสริมภาคอสังหาริมทรัย์ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำจะช่วยสร้างความต้องการซื่อที่เพิ่มมากขึ้น และหากดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ของธนาคารพาณิชย์มีการปรับลดตามก็จะเป็นผลดีมากยิ่งขึ้น ทำให้คนขอยื่นกู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์มีเกณฑ์ฐานรายได้ที่น้อยลง นอกจากนี้จะส่งผลกับผู้กู้เดิมมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลง เนื่องจากเงินผ่อนรายเดือนนั้น มีต้นทุนอัตราดอกเบี้ยคิดเป็นส่ดส่วน 80-90%
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่น่ากังวลมากที่สุด คือ การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ หากการฟื้นตัวไม่ดีขึ้นก็จะกระทบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างมาก อย่างเช่นปีก่อนที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ติดลบ โดยปัจจัยที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังต้องหวังการลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ที่จะช่วยการขยายตัวของเขตเมืองต่างๆ และหวังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและกำลังซื้อให้กลับมาดีขึ้น