"โครงการทั้งหมดอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้และคาดว่าจะเห็นการลงทุนในบางโครงการภายในปีนี้ สำหรับเงินที่จะใช้ในการลงทุนนั้นจะมาจากเงินทุนต้นที่บริษัทได้มีมติและดำเนินการเพิ่มทุนเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา"นายสมพร กล่าว
ขณะนี้บริษัทมีกระแสเงินสดราว 7,000 ล้านบาท และมีเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนเมื่อช่วงต้นปีอีก 7,000 ล้านบาท ซึ่งจะใช้ในการลงทุนของบริษัทย่อย และรองรับการลงทุนใหม่ๆ ที่คาดว่าจะมีมูลค่าการลงทุนราว 3-4 พันล้านบาท โดยจะต้องเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 10%
ทั้งนี้ นายสมพร เปิดเผยว่า บริษัทยังคงมีความสนใจซื้อหุ้น บมจ.บางจากปิโตรเลียม(BCP) จาก บมจ.ปตท.(PTT) ในส่วนที่เหลือ 12% โดยอยู่ระหว่างการรอพิจารณาเงื่อนไขของภาครัฐ แต่ก็ต้องพิจารณาถึงผลตอบแทนที่จะได้ด้วยรับว่าเหมาะสมหรือไม่
สำหรับทิศทางผลประกอบการในปีนี้ คาดว่ารายได้อาจจะใกล้เคียงกับปีก่อนที่มีรายได้ 22,341 ล้านบาท เนื่องจากมองภาพรวมอุตสาหกรรมยังคงผันผวน ขณะที่เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอน ส่งผลกระทบต่อค่าระวางเรือต่ำลง โดยบริษัทฯจะพยายามรักษาค่าระวางเรือให้สูงกว่าดัชนี BSI ราว 5% หรือมีค่าระวางอยู่ที่ 6,100 เหรียญสหรัฐ/ลำ/วัน ขณะที่บริษัทจะมีจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 5,900 เหรียญสหรัฐต่อวันต่อลำ ซึ่งขณะนี้ TTA มีกองเรืออยู่ 44 ลำ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารายได้จะใกล้เคียงปีก่อน แต่บริษัทคาดว่ากำไรจะดีกว่าปีก่อนที่มีกำไร 1,407 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทดำเนินกลยุทธ์ลดต้นทุนต่อเนื่อง ประกอบกับบริษัทย่อยทั้ง บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS), บมจ. พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้ง (PMTA), บมจ. เมอร์เมด มาริไทม์ และ บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง นาจะมีดำเนินงานที่ฟื้นตัวดีขึ้นในปีนี้
นายสมพร กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทตั้งเป้ายอดขายถ่านหินของ UMS ที่ 7-9 แสนตัน จากปีที่แล้ว 3 แสนตัน โดยจะเสนอขายให้กับลูกค้าของ TTA มากขึ้น มั่นใจว่า UMS จะพลิกกลับมามีกำไรได้ จากปีก่อนที่ขาดทุน 119 ล้านบาท