ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS กว่า 78% มีความต้องการใช้บริการร้านสะดวกซื้อ 61% ต้องการซื้ออาหารทานเล่น 46% ซื้อกาแฟ และ 21% ซื้อเครื่องดื่ม บนสถานีรถไฟฟ้า BTS
ส่วนสินค้ากลุ่ม Non-food กลุ่มตัวอย่าง มีความต้องการซื้อสินค้าจากร้านยาคิดเป็น 19% ร้านขายสินค้าราคาเดียวทั้งร้าน 11% และร้านขายเครื่องสำอาง 11% นอกจากนี้ ยังมีความต้องการใช้บริการร้านถ่ายเอกสารคิดเป็น 26% รองลงมาได้แก่ ร้านที่ให้บริการชาร์ตโทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต 22% ร้านปริ้นท์เอกสาร 20% ร้านซักอบรีด 10% และร้านที่ให้บริการตัดผมหรือถ่ายรูปด่วน 9% อีกด้วย
ทั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการร้านค้าที่ดำเนินธุรกิจการให้บริการดังกล่าว สามารถเข้ามาใช้พื้นที่สถานีรถไฟฟ้าตั้งเป็น Outlet เพื่อรองรับการให้บริการแก่ผู้โดยสาร BTS ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงและมีวิถีชีวิตเร่งรีบ โดยพร้อมใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่การใช้ชีวิตมากกว่าปัจจัยด้านราคาสินค้า
"กลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่ารายได้เฉลี่ยของคนกรุงเทพฯ 15% พร้อมจับจ่ายใช้ซื้อสินค้าบนสถานีรถไฟฟ้า โดยพบว่า สินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการนั้นต้องเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตให้ง่าย รวดเร็วและสามารถตอบโจทย์ความต้องการซื้อสินค้าและบริการได้ครบถ้วน"นายมารุต กล่าว
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร VGI กล่าวว่า จากพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการดังกล่าว ทำให้ VGI ในฐานะที่เป็นผู้บริหารพื้นที่บนสถานีรถไฟฟ้า BTS ได้ใช้แนวคิด Urban Lifestyle Solution มาเป็นแนวทางบริหารพื้นที่เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการร้านค้าให้เข้ามาใช้บริการเช่าพื้นที่บนสถานีรถไฟฟ้า รองรับพฤติกรรมการซื้อสินค้าและไลฟ์สไตล์ของผู้โดยสาร BTS โดยเฉพาะพื้นที่ใหม่ๆ ของสถานีรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย 7 สถานี ได้แก่กรุงธนบุรี วงเวียนใหญ่ บางจาก ปุณณวิถี อุดมสุข บางนาและแบริ่ง ซึ่งบริษัท ฯ จะได้เริ่มทำการจัดเตรียมพื้นที่หลังจากที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจาก BTS และพบว่าผู้ประกอบการร้านค้าให้การตอบรับที่ดีที่จะเข้ามาเปิด Outlet บนสถานีรถไฟฟ้าแห่งใหม่เป็นจำนวนมาก