“ในช่วงไตรมาส 1/58 สินเชื่อรวมของธนาคารก็ยังจะมีการขยายตัวได้ไม่มาก เพราะเศรษฐกิจเราก็ยังไม่ค่อยดี และตัวเลขการส่งออก 2 เดือนแรกยังติดลบ 3.5% แต่มองๆว่าตั้งแต่ไตรมาส 2/58 คาดว่าสินเชื่อรวมก็น่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ เป้าหมายสินเชื่อรวมของธนาคารยังคงตั้งเป้าเดิมที่ 8-10%"นายบุญทักษ์ กล่าว
ขณะเดียวกันธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)ในปีนี้เติบโต 20% โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้นมาจากการที่มีบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) เพื่อให้เข้ามารับประกันความเสียหายจากการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของธนาคารในระดับที่ 40% ขณะที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีการรับประกันความเสียหายจากการให้สินเชื่อ SMEs อยู่ที่ระดับ 20% ทำให้การปล่อยสินเชื่อ SMEs ของธนาคารมีความเสี่ยงลดลง
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของสินเชื่อ SMEs ของธนาคารในปีนี้ถือว่าสูงกว่าการเติบโตของสินเชื่อ SMEs ทั้งระบบที่คาดว่าจะเติบโตต่ำกว่าระดับ 1-2% จากปีก่อนที่เติบโตเพียง 1-2% เนื่องจากสถาบันการเงินมีความกังวลและระมัดระวังมากขึ้นในการให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการ SMEs โดยที่ผ่านมานั้นสินเชื่อ SMEs มีการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มากที่สุด ทำให้สถาบันเงินต่างๆมีความระมัดระวัง และส่งผลให้ธุรกิจ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนยากขึ้น
ด้านการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 58 มองว่าธนาคารกลางสหรัฐฯอาจจะยังไม่เพิ่มอัตราดอกเบี้ยในการปรับชุมครั้งนี้ เนื่องจากการเติบโตของเศราฐกิจสหรัฐฯยังไม่แข็งแรงมากพอ แต่ในอนาคตข้างหน้าหลังเศรษบกิจสหรัฐนมีความแข็งแรงอย่างมากแล้ว ธนาคารกลางสหรัฐฯอาจจะมีแนวโน้มการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ และส่งผลให้เกิดความผันผวนของค่าเงิน และมีผลกระทบต่อตลาดทุนไทย โดยพาะตลาดหุ้นไทยที่เกระแสเงินทุนจะมีการไหลออก
ส่วนของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 1.75% นั้นมองว่ายังไม่มีผลช่วยผลักดันการเติบโตของสินเชื่อทั้งระบบ จากเศรษฐกิจไทยยังไม่มีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ชัดเจน อีกทั้งอาจจะยังไม่ส่งผลในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย อย่างไรก็ตามการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์แต่ละธนาคารก็คงต้องดูความเหมาะสมและเป็นไปตามภาวะตลาดในปัจจุบัน