PTTEP เตรียมทำแผนกลยุทธ์รองรับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงภายใน 2-3 เดือน

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday March 26, 2015 18:58 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)กล่าวว่า บริษัทจะมีการทำแผนกลยุทธ์ในการดำเนินงานในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า โดยจะทบทวนภาพรวมของแผนการดำเนินงานใน 5 ปีข้างหน้า (59-63) และแผนการดำเนินงานในปีนี้ เนื่องจากสถานการณ์ของราคาน้ำมันปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่คาดการณ์ราคาน้ำมันอยู่ 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล และได้มีการปรับใหม่มาอยู่ที่ 70 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล แต่สถานการณ์ในปัจจุบันจะดูแย่ไปกว่าเดิม ทำให้อาจจะต้องปรับราคาน้ำมันมาอยู่ที่ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ทั้งนี้ บริษัทจำเป็นต้องมีการลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนลงโเยเฉพาะในปีนี้ที่ตั้งงบลงทุนรวมไว้ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลง 10% เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายตามกลยุทธ์ "ลด ละ เลื่อน" (Save to be safe) เพื่อไห้สอดคล้องกับสถานการ์ณในปัจจุบัน ประกอบกับอาจจะต้องมีการทบทวนเป้าหมายมีปริมาณการผลิตในปี 63 ที่ตั้งเป้ามีปริมาณการผลิตน้ำมัน 600,000 บาร์เรลต่อวัน และมีปร่มาณการสำรองน้ำมัน 10 ปี ให้มีความเหมาะสมตามสถาการณ์ราคาน้ำมันในปัจจุบันที่มีการเอลี่ยนแปลง

"อีก 2-3 เดือน เราก็จะมีการทำแผนกลยุทธ์การดำเนินงานใหม่ ซึ่งเราต้องมีการทบทวน Outlook ของราคาน้ำมันที่แนวโน้มราคาลดลง ตอนแรกเราตั้งราคาน้ำมันใช้ที่ 90 เหรียญ แล้วก็ปรับมาเป็น 70 เหรียญ ตอนนี้สถานการณ์ปัจจุบันก็อาจจะต้องปรับลงไปเหลือ 50 เหรียญ แผนที่เราจะมา Review ใหม่ก็มีทั้ง Short term และ Long term 5 ปี (59-63) ส่วนแผนการลงทุนแต่ปรับลดเงินลงทุนรวมปีนี้ลง 10% ส่วนแผนอื่นๆยังไม่ได้ Review กันจริงๆ แต่ก็จะเริ่มในไตรมาส 1/58 นี่แหละ ซึ่งก็ต้องมีการคุยกันในการลงทุนอื่นๆ ตอนนี้ก็ใช้กลยุทธ์การลดค่าใช้จ่าย ละบางอย่างที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน และเลื่อนบางโครงการซึ่งมีความเสี่ยงออกไป"นายเทวินทร์ กล่าว

ประกอบกับ ราคาขายก๊าซของ PTTEP ในปีนี้ที่คาดว่าจะทยอยปรับลดลงตามสัญญา เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.58 เนื่องจากราคาน้ำมันเตาปรับลดลงนั้น คาดว่าส่งผลกระทบต่อผลประกอบการปีนี้อีกด้วย ซึ่งเป็นตัวเสริมแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าผลกระทบคงมีไม่มากนัก เพราะจะมีปริมาณผลผลิตก๊าซเพิ่มขึ้นจากแหล่งซอติก้าในพม่าที่สามารถผลิตได้เต็มปี และมีแหล่งแอลจีเรียที่จะเริ่มผลิตกลางปีนี้มาช่วยเพิ่มกำลังการผลิตอีก 4-6%

อีกทั้งความต้องการก๊าซยังมีอยู่มาก จะเห็นได้จากเดือนมี.ค.ปริมาณการใช้ก๊าซเข้าสู่จุดสูงสุดเร็วกว่าปกติที่ 5,300 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน จากปกติจะเป็นช่วงเดือนเม.ย.จะเป็นช่วงที่มีปริมาณการใชิก๊าซสูงสุด


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ