"สัดส่วนการกระจายหุ้นประมาณ 25% ของทุนจดทะเบียน IPO น่าจะได้เงินประมาณ 8 พันถึง 1 หมื่นล้านบาทเพื่อใช้ขยายงานใน 5 ปีข้างหน้า"นายนพดล กล่าว
นายนพดล กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทได้ยื่นแบบเสนอขายหุ้นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) แล้ว และอยู่ระหว่างการนำเสนอข้อมูลให้นักลงทุน คาดว่าจะมีการทำ book building ในช่วงหลังสงกรานต์และเสนอขายหุ้น IPO ต่อไปในต้นเดือนพ.ค. จากนั้นจะนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในเดือนเดียวกัน
ปัจจุบัน บริษัทมีกำลังการผลิตตามสัดส่วนร่วมทุนจำนวน 1,851 เมกะวัตต์ โดยเป็นโครงการที่ผลิตแล้ว 1,300 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือเป็นโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างจะแล้วเสร็จใน 4-5 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนกว่า 6 พันล้านบาท ซึ่งจะมาจากเงินสดที่มีอยู่ ขณะที่บริษัทมีแผนจะขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศอีกราว 1 พันเมกะวัตต์ใน 5 ปีข้างหน้า
การระดมทุนจากการขายหุ้น IPO ครั้งนี้ส่วนหนึ่งจะใช้ในการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าตามแผน รวมถึงใช้ในการลงทุนในโครงการรีไซเคิลน้ำเสีย เพื่อนำมาใช้เป็นน้ำอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นการร่วมมือกับบมจ. ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตี้ส์ (UU) ในเครือของ บมจ.จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก(EASTW) ในอนาคตด้วย
ด้านนายสุรงค์ บูลกุล ประธานกรรมการของ gpsc กล่าวว่า ขณะนี้ GSPC อยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรเพื่อลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวล 2-3 แห่งใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีกำลังการผลิตราว 8 เมกะวัตต์/แห่ง ใช้เศษไม้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งบริษัทจะถือหุ้นส่วนน้อย ร่วมกับเจ้าของเชื้อเพลิง
สำหรับการลงทุนของ GSPC จะเป็นการลงทุนในประเทศ ส่วน 30% เป็นการลงทุนในต่างประเทศ และภาพรวมจะมีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนราว 10-20% โดย GSPC ถือหุ้นโดยบมจ. ปตท. (PTT) 30.10% บมจ.พีทีที. โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) 30.31%. บมจ.ไทยออยล์ (TOP) 11.88%. และบริษัท ไทยออยล์ พาวเวอร์ 27.71%