ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยประจำสัปดาห์: มีมูลค่าการซื้อขายรวม464,772.21 ลบ.

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday April 16, 2015 16:56 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ประจำสัปดาห์ (7 - 10 เมษายน 2558) ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ มีมูลค่ารวม 464,772.21 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 116,193.05 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 2% ทั้งนี้เมื่อแยกตามประเภทของตราสารแล้ว จะพบว่ากว่า 72% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด หรือประมาณ 334,171 ล้านบาท เป็นการซื้อขายในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (state Agency Bond) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นตราสารที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างน้อย (ไม่เกิน 6 เดือน) ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (Government Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 91,123 ล้านบาท และหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน (Corporate Bond) มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 5,537 ล้านบาท หรือคิดเป็น 20% และ 1% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามลำดับ

สำหรับพันธบัตรรัฐบาล ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรกคือรุ่น LB196A (อายุ 4.2 ปี) LB236A (อายุ 8.2 ปี) และ LB21DA (อายุ 6.7 ปี) โดยมีมูลค่าการซื้อขายในแต่ละรุ่นเท่ากับ 34,568 ล้านบาท 16,539 ล้านบาท และ 9,639 ล้านบาท ตามลำดับ

ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชน ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หุ้นกู้ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) รุ่น CPF163A (A+) มูลค่าการซื้อขาย 796 ล้านบาท หุ้นกู้ของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รุ่น CPALL248B (A+(tha)) มูลค่าการซื้อขาย 259 ล้านบาท และหุ้นกู้ของบริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด รุ่น TLT174A (AAA) มูลค่าการซื้อขาย 256 ล้านบาท

ราคา (Price) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นในตราสารอายุ 1 ปีลงไป หรือผู้ซื้อจะได้ผลตอบแทน (Yield) ลดลง ประมาณ 0.01% - 0.02% หากเข้าซื้อพันธบัตรในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภายหลังการประชุมระหว่างคณะกรรมการบริหารไอเอ็มเอฟและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้สรุปการประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยประจำปี 2558 ว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2558 และมีโอกาสเติบโตได้ถึงร้อยละ 3.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคที่ฟื้นตัวและการลงทุนภาคเอกชน ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นด้วยว่าไทยยังคงมีเครื่องมือต่างๆ ที่สามารถจะนำมาใช้เพื่อดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ อาทิ ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีจำนวนมาก และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่น ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรองรับความผันผวนในตลาดการเงิน ขณะที่ผลประชุม FOMC Minutes ของสหรัฐฯยังไม่ส่งสัญญาณการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (7 เม.ย. - 10 เม.ย. 58) มีเม็ดเงินต่างชาติไหลออกจากการลงทุนในตราสารหนี้รวมสุทธิ 6,160 ล้านบาท โดยเงินไหลออกจากตราสารหนี้ระยะยาว (อายุคงเหลือ > 1 ปี) ประมาณ 7,016 ล้านบาท และไหลเข้ามาในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุน้อยกว่า 1 ปี) ประมาณ 856 ล้านบาท

หมายเหตุ: อันดับเครดิต หมายถึง อันดับเครดิตของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น หรือ อันดับเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้

ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ไทย                                  สัปดาห์นี้              สัปดาห์ก่อนหน้า    เปลี่ยนแปลง              สะสมตั้งแต่ต้นปี
                                                    (7 - 10 เม.ย. 58)   (30 มี.ค. - 3 เม.ย. 58)          (%)   (1 ม.ค. - 10 เม.ย. 58)
มูลค่าการซื้อขาย แบบปกติ - Outright Trading (ล้านบาท)            464,772.21               473,180.26       -1.78%             5,770,757.44
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (ล้านบาท)                              116,193.05                94,636.05       22.78%                84,864.08
ดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Gross Price index)                    108.74                   108.92       -0.17%
ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corp Bond Gross Price index)                      107.55                   107.63       -0.07%

เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Gov Bond Yield Curve) --%
ช่วงอายุของตราสารหนี้                                               1 เดือน     6 เดือน     1 ปี     3 ปี     5 ปี     10 ปี     15 ปี     30 ปี
สัปดาห์นี้ (10 เม.ย. 58)                                              1.75       1.75    1.75       2    2.29     2.68     3.08      3.7
สัปดาห์ก่อนหน้า (3 เม.ย. 58)                                          1.76       1.77    1.77       2    2.29     2.65     3.05     3.69
เปลี่ยนแปลง (basis point)                                             -1         -2      -2       0       0        3        3        1

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ