เหตุการณ์ที่สอง ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ในไตรมาสแรกของสหรัฐฯ ออกมาน่าผิดหวัง โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสต่อไตรมาส (QoQ) ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา(USD) ปรับตัวอ่อนค่าในระยะสั้น ส่งผลบวกต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงน้ำมันปรับตัวขึ้นด้วย, เหตุการณ์ที่สาม สต็อกน้ำมัน ณ จุดส่งมอบ Cushing สหรัฐฯ ที่ปรับตัวลง ถือเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยมองการปรับตัวลงดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าปัญหาอุปทานส่วนเกินเริ่มบรรเทาลงแล้ว
จากสถานการณ์แนวโน้มราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และ สต็อกน้ำมันที่ลดลง มองว่าจะส่งผลบวกและทำให้หุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ปรับตัวแข็งแกร่งกว่าตลาด โดยมองว่าหุ้นกลุ่มนี้หลายบริษัทยังมี Functional currency เป็นสกุลเงิน USD ด้วย ซึ่งจะได้ประโยชน์ในช่วงเวลาที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าอีกต่อหนึ่ง
สำหรับเหตุการณ์สุดท้าย ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ยังไม่มีแนวโน้มจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า ระหว่างวันที่ 16-17 มิถุนายน หลังการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) เมื่อคืนนี้ (29 เม.ย.) บ่งชี้ว่า Fed มีความกังวลกับภาวะเศรษฐกิจมากขึ้นเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อน
ในระยะสั้นปรับเพิ่มคำแนะนำจากเดิม “Wait & see" เป็น “Cumulative buy on weakness" โดยแนะนำถือหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ยต่อไป ได้แก่ SAWAD, MTLS, GL, ASK, JMT, HANA และแนะนำทยอยสะสมหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ได้แก่ PTT, BANPU, TOP, PTTGC, SCC