โดยสาธารณูปโภคสำคัญได้แก่ ถนนตรงเข้านิคมอุตสาหกรรมในทวาย ล่าสุด รัฐบาลไทยได้อนุมัติให้รัฐบาลเมียนมาร์กู้ จำนวน 4,500 ล้านบาท ส่วนโรงไฟฟ้า ก็อยู่ระหว่างเจรจากันอยู่ ขณะที่ในส่วน ROJNA ที่ได้ร่วมทุนกับ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ฝ่ายละ 50% ในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเฟสแรกพื้นที่ จำนวน 2 หมื่นไร่
"สัญญาที่จะเซ็นมันเลื่อนไปเรื่อยๆ ครั้งนี้คาดว่าจะเลื่อนไป 2-3 เดือน เพราะทางเราถ้าเซ็นสัญญาต้อลงตังค์ เราก็ต้องการหลักการทุกอย่าง สาธารณูปโภคต้องพร้อม หลักๆเรื่องไฟฟ้า ส่วนถนน จบแล้ว" นางสาวอมรา กล่าว
อนึ้ง โครงการโรงไฟฟ้าทวายในพื้นที่อุตสาหกรรม บมจ.ผลิตไฟฟ้า (EGCO) และ ITD ร่วมทุนกันในสัดส่วนร้อยละ 70:30 ซึ่งระยะแรกจะผลิตไฟฟ้าขนาด 100 เมกะวัตต์
สำหรับธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมในประเทศ นางสาวอมรา กล่าวว่า ยอมรับว่าธุรกิจชะลอตัวจากเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกทำให้การลงทุนชะลอตัวตามไปด้วย โดยคาดว่าในปีนี้คงจะไม่ดีเมื่อเทียบกับ 1-2 ปีที่ผ่านมาที่ขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมได้ค่อนข้างดี ตลาดใหม่เงียบ แต่บริษัทพยายามติดตามลูกค้าแต่เชื่อว่าตลาดไม่ร้อนแรง
ในปีนี้ บริษัทตั้งเป้าขายที่ดินประมาณ 400-600 ไร่ ส่วนใหญ่จะมาจากลูกค้าเดิมที่ขยายการผลิต และลูกค้าใหม่ก็อาจมีเข้ามาบ้าง ขณะเดียวกัน บริษัทมีที่ดินรอรับรู้การโอนสิทธิที่ดิน(Backlog) จำนวน 800-900 ไร่ ที่คาดว่าจะรับรู้รายได้ในปีนี้ทั้งหมด รวมทั้ง รายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ปีนี้รับรู้เต็มปี จากปีก่อนรับรู้เพียง 3 เดือน นอกจากนี้ บริษัทจะลงทุนโรงไฟฟ้าเอสพีพี เฟส 3 ขนาด 110 เมกะวัตต์ คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 1 ล้านเหรียญสหรัฐต่อ 1 เมกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถจ่ายไฟเชิงพาณิชย์(COD) ในอีก 2 ปีครึ่ง
ปี 57 ROJNA มีรายได้รวม 11,713.98 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 739.31 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากการขายที่ดิน จำนวน 2,635.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากโครงการที่จ.ปราจีนบุรี ได้ทำการพัฒนาแล้วเสร็จและสามารถโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้กับลูกค้าได้เป็นจำนวน 2,294 ไร่