ปริมาณอ้อยเข้าหีบที่เพิ่มขึ้น จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจน้ำตาลทรายและธุรกิจพลังงานทดแทน ที่ปัจจุบัน บริษัทฯ มีโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล 2 แห่ง ที่ได้จำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) รวม 16 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ ยังสามารถรองรับแผนงานการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลแห่งที่ 3 ซึ่งขณะนี้บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้วตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม โดยมีกำลังการผลิตทั้งสิ้น 9.9 เมกะวัตต์ สามารถขายไฟฟ้าได้ 8 เมกะวัตต์ ภายใต้รูปแบบ FiT ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มจำหน่ายไฟได้ภายในต้นปี 2559
“เรามีเป้าหมายสร้างฐานความแข็งแกร่งด้านผลผลิตอ้อยและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลทราย เพื่อผลักดันรายได้และนำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตมาสร้างความมั่นคงให้แก่ธุรกิจพลังงานทดแทนซึ่งจะส่งผลให้ผลการดำเนินงานรวมเติบโตอย่างต่อเนื่อง" นายอนันต์ กล่าว
ทั้งนี้ แผนดำเนินงานของกลุ่มน้ำตาลบุรีรัมย์ในช่วงฤดูการผลิตปี 2558/59 ถึง 2559/60 นั้น นอกเหนือจาก การส่งเสริมด้านการบริหารจัดการอ้อยตามปรัชญา “น้ำตาลสร้างในไร่" แล้ว ยังเสริมความเข้มแข็งทางธุรกิจของกลุ่มด้วยการลงทุน 500 ล้านบาท ขยายกำลังการผลิตจาก 17,000 ตันอ้อยต่อวันในปัจจุบัน เป็น 22,000 ตันอ้อยต่อวัน เตรียมรองรับปริมาณอ้อย 3 ล้านตัน และเสริมความแข็งแกร่งด้านพลังงานทดแทนด้วยการลงทุนอีก 600 ล้านบาทสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งที่ 3