1.มาตรการคัดกรองในการตรวจรับผู้โดยสารและการบริการลูกค้าภาคพื้น อาทิ การสังเกตอาการ ผู้โดยสารก่อนการเช็คอิน หากจำเป็นผู้โดยสารต้องมีใบรับรองแพทย์
2.มาตรการในการให้บริการบนเครื่องบิน อาทิ การเฝ้าระวัง สังเกตอาการของผู้โดยสารในระหว่างการเดินทาง
3.มาตรการในการจัดเตรียมอากาศยานและฆ่าเชื้อโรค อาทิ การพ่นยาฆ่าเชื้อโรคภายในอากาศยานในระหว่างจอดที่สนามบิน
4.มาตรการในการทำความสะอาดภายในเครื่องบิน อาทิ การทำ Deep Cleaning และเพิ่มการทำความสะอาด 36 จุดสัมผัสภายในห้องโดยสาร
5.มาตรการในการป้องกันและเฝ้าระวังสุขอนามัยของพนักงาน อาทิ การมีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลประจำเครื่องบิน และการให้ความรู้ในการป้องกันสุขภาพแก่พนักงาน
6.มาตรการด้านการรับขนส่งสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ อาทิ เพิ่มมาตรการในการตรวจสอบบรรจุภัณฑ์และหลีกเลี่ยงการขนส่งสินค้าที่มีความเสี่ยง
7.มาตรการด้านโภชนาการ อาทิ การคัดเลือกวัตถุดิบและวิธีการปรุงอาหารที่สะอาดได้มาตรฐานและไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะของโรค
อนึ่ง ที่ผ่านมาบริษัทได้ดำเนินการออกมาตรการต่างๆ ในกรณีที่มีการระบาดของโรค ได้แก่ โรคระบาดซาร์ เมื่อปี พ.ศ.2546 โรคระบาดไข้หวัดนกในปี พ.ศ.2547 และการแพร่ระบาดของโรคไวรัสอีโบลาในปี พ.ศ.2557 ซึ่งมาตรการต่างๆ ได้ผลดีและได้รับการชื่นชมจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO)
อย่างไรก็ตาม การบินไทยได้ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อติดตามสถานการณ์และมาตรการต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด
ในวันนี้ บมจ. การบินไทย จัดบรรยายสรุปเรื่อง “การบินไทยออกมาตรการป้องกันโรคไวรัสเมอร์ส "เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการ พร้อมนำสื่อมวลชนถ่ายภาพขั้นตอนการทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคภายในอากาศยาน โดยมีเรืออากาศเอกปรารถนา พัฒนศิริ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายความปลอดภัย ความมั่นคงและมาตรฐานการบิน นายเกรียงศักดิ์ ศักดิ์เรืองงาม รักษาการกรรมการผู้จัดการฝ่ายบริการอุปกรณ์ภาคพื้น และนายมนตรี จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการซ่อมบำรุงอากาศยานลานจอด นายสมรรถ พุ่มอ่อน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารภาวะฉุกเฉินและวิกฤติ และนางเพชรพริ้ง สารสิน ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร ร่วมกันบรรยายสรุป ณ ฝ่ายช่าง การบินไทย