สำหรับผู้ป่วยชาวต่างชาติรายดังกล่าวเข้ามารับการรักษาด้วยอาการหอบเหนื่อยกับทางโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมาด้วยตนเอง(Walk-in)ซึ่งเป็นผู้ป่วยต้องสงสัยว่ามีความเสี่ยงจะติดเชื้อไวรัสเมอร์สเนื่องจากมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง จึงได้แยกตัวไว้ในห้องแยกความดันลบ(Airborne Infection Isolation Room)เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โรงพยาบาลได้มีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขให้เข้ามาร่วมตรวจสอบด้วยตั้งแต่ต้น
ทางโรงพยาบาลได้มีการปฏิบัติการทางการแพทย์ 4 ครั้ง โดยการเก็บตัวอย่างส่งตรวจนั้นได้ปฏิบัติตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข, World Heaalth Organization (WHO) และหน่วยควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) จนกระทั่งได้รับการยืนยันจากผลการตรวจเชื้อไวรัสเมอร์สจากห้องปฏิบัติการณ์ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้รับตัวไปรักษาต่อที่สถาบันบำราศนราดูร จ.นนทบุรี ตั้งแต่เช้ามืดของวันที่ 18 มิ.ย.
ขณะที่ทางโรงพยาบาลได้ตรวจอาการเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมดที่ได้สัมผัสกับผู้ป่วยรายดังกล่าว โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ได้ให้การดูแลผู้ป่วยรายแรก โรงพยาบาลอนุญาตให้หยุดงานชั่วคราวและเข้ามาเฝ้าระวังอาการภายในโรงพยาบาลจำนวน 58 คน ซึ่งดรงพยาบาลมีการสังเกตการร์และให้การดุแลอย่างใกล้ชิดตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุข โดยเจ้าหน้าที่ได้สัมผัสผู้ป่วยในหลายระดับ และมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน แต่ทุกคนยังมีอาการปกติดี ไม่มีใครป่วยเป็นโรคเมอร์ส และเจ้าหน้าที่ทุกท่านสมัครใจที่จะอยู่โรงพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังอาการ
"ยืนยันไม่มี และไม่พบผู้ป่วย MERS รายที่ 2 อีกแล้ว ซึ่งทางโรงพยาบาลให้พนักงานที่ดูแลผู้ป่วยรายแรกหยุดงานชั่วคราวและอยู่ในพื้นที่ที่แยกออกไปเป็นจำนวน 14 วัน และตรวจเชื่อเจ้าหน้าที่ทุกวัน ผลการตรวจมาถึงวันนี้ทุกท่านมีอาการปกติดี และทุกท่านก็สมัครใจให้โรงพยาบาลดูแลควบคุมครบ 14 วัน และขยายวงกว้างในการดูแลมากกว่ามาตรฐานที่กระทรวงกำหนด ทำให้มีบุคลากรที่ดูแล 58 ท่าน ซึ่งระดับความดูแลจะไม่เท่ากัน"ศ.นพ.ชาญวิทย์ กล่าว
ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลอยากขอให้เชื่อมั่นทั้งผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวอยู่และที่จะเข้ามารับบริการ ให้เชื่อมั่นว่าระบบคัดกรองต่างๆ ของรพ.ได้ตามมาตรฐาน และคงมีมาตรการถัดไปในการดูแล
BH ยังระบุว่าคนไข้ชาวต่างชาติที่เข้ามารับการรักษามีสัดส่วนเป็นชาวตะวันออกกลางราว 20% และทางโรงพยาบาลขอแจ้งว่ามีระบบติดตามเฝ้าระวังและมีมาตรการรองรับสถานการณ์โรคเมอร์สตั้งแต่ปี 55 มาโดยตลอด แม้ว่าทางโรงพยาบาลจะสามารถควบคุมยับยั้งไม่ให้มีการแพร่ระบาดโรคเมอร์สในโรงพยาบาลได้สำเร็จ แต่ก็มิได้นิ่งนอนใจเมื่อทราบว่าโรคเมอร์สได้เข้ามาถึงประเทศไทยแล้ว
ดังนั้น โรงพยาบาลยังคงเผ้าระวัง คัดกรอง การวินิจฉัยดุแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงขั้นสูงสุดตามที่ปฏืบัติมา โดยการ
1. ติดตามข่าวสารและเฝ้าระวังโรคระบาดมาโดยตลอด
2. มาตรการคัดกรองและรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงตั้งแต่แรกเข้า
3. แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ได้รับการอบรมให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับโรคระบาดอย่างสม่ำเสมอ
4. มีแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข, WHO และ CDC
5. มาตรการทำความสะอาดโดยการฆ่าเชื้อภายในโรงพยาบาล
6. โรงพยาบาลประสานกับหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการควบคุมอย่างใกล้ชิด
7. มีความพร้อมในกระบวนการดูแลตรวจวินิจฉัยอย่างครบถ้วนและรวดเร็ว
ทางโรงพยาบาลยังคงประสานงานในด้านการเฝ้าระวังโรคและดูแลเพื่อความปลอดภัยของบุคลากรอย่างใกล้ชิด ซึ่งที่ประชุมของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขยังได้ชื่มชมในมาตรการของโรงพยาบาลที่กำลังปฏิบัติอยู่ด้วย จึงขอให้ทุกคนมั่นใจในมาตรฐานความปลอดภัยของโรงพยาบาล