“ตั้งแต่เริ่มมีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1.4 ล้านลบ. ผู้ประกอบการรายย่อยเริ่มตื่นตัว และจับมือกันว่าใครสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือถ้ายังทำเองไม่ได้ ก็จับมือกับต่างชาติ เราจะได้ทั้งเงิน ลูกค้า และโนว์ฮาวด้วย"นายธีรวัต กล่าว
ทั้งนี้ BM เป็นผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนประกอบในส่วนของซัพพลายเชนโครงการก่อสร้างต่างๆ โดยเป็นผู้ผลิต และแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล็ก เช่นราง และท่อร้อยสายไฟฟ้า ตู้สื่อสาร ตู้ไฟฟ้า ตู้โลหะ และแผงควบคุมไฟฟ้าที่ใช้ตามอาคารต่าง ๆ ซึ่งมีสัดส่วนในการรับงานผ่านผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างด้านโครงสร้างพื้นฐานสูงถึง 60% ของงานทั้งหมด รวมทั้งแป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะขึ้นรูปและโลหะเชื่อมประกอบ ที่ใช้ในไฟฟ้าอุตสาหรรมและเครื่องจักรกลต่างๆ
นายธีรวัต กล่าวว่า รัฐบาลควรพิจารณากำหนดสัดส่วนวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบที่ผลิตในประเทศ(Local content)ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1.4 ล้านลบ. โดยเฉพาะการลงทุนโครงการใหม่ ๆ ที่ใช้นวัตกรรมสูง อย่างเช่นโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เนื่องจากการที่รัฐบาลกำหนดสัดส่วนวัตถุดิบในประเทศให้ชัดเจนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในประเทศเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบในส่วนของซัพพลายเชน รวมถึงกลุ่มวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ จะได้รับประโยชน์ทั้งในแง่ของปริมาณการรับงานที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ และที่สำคัญผู้ประกอบการในประเทศจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในโครงการต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถนำความรู้นั้นมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมให้กับตนเอง รวมถึงจะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่งด้วย
“ถ้าอยากให้ผู้ประกอบการในประเทศได้ รัฐบาลต้องประกาศเพิ่มเติม หรือประกาศให้ชัดเจนเลยว่าแต่ละโครงการจะต้องมี Local content เท่าไหร่ เพราะไม่เพียงแต่เราจะได้เงิน แต่เราจะได้โนว์ฮาวด้วย เพราะผู้ประกอบการบ้านเราเก่ง และพร้อมที่จะเดินหน้า โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งตัวเงิน และความรู้จะลงมาถึงผู้ประกอบการค่อนข้างมาก และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกด้วย" นายธีรวัต กล่าว